legacy  ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีใน อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (State Party of the World Heritage Convention) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๐  และเคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) มาแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๓๘  ครั้งที่สอง ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๔๐ – ๒๕๔๖  และครั้งล่าสุดระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖
ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ๕ แห่ง ดังนี้

 แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง

1 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕   เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔  ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย
ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

alt alt alt alt alt

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ   ๖๐   กิโลเมตร ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ
alt alt alt alt alt

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศใต้ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูวางแนวยาวขนานกับลำน้ำปิง มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ
alt alt alt alt alt

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาค เอเชียอาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ เป็นเวลานานประมาณ ๒๐๐ ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้น ทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดด
มรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบัน
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่อง เที่ยวที่สำคัญของประเทศ มีลักษณะการใช้พื้นที่ทั้งส่วนที่เป็นโบราณสถานที่ได้รับการดูแลโดยกรม ศิลปากร และพื้นที่ข้างเคียงซึ่งที่อยู่อาศัยของชุมชนท้องถิ่น โดยกำหนดและจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างชัดเจน รวมทั้งควบคุมสิ่งก่อสร้างและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยคณะกรรมการพิจารณาการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและใช้ประโยชน์ที่ดินในเขต โบราณสถาน ร่วมกันพิจารณาเพื่อนำเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมศิลปากรผู้อำนาจในการอนุญาต ปัจจุบันชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์เริ่มขยายตัวพร้อมๆ กับการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางของเมืองประวัติศาสตร์และเป็นเมืองมรดก โลก เช่น การสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้นภายในเขตเมืองเก่า ตลอดจนบดบังทัศนียภาพ หรือสภาพภูมิทัศน์ ทำให้ขาดความสง่างามและคุณค่าของโบราณสถาน รวมทั้งการขาดหน่วยงานที่ต้องดำเนินการ ด้านอนุรักษ์การอย่างพอเพียง ดังนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ให้ตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม และช่วยกันดูแลรักษาให้เป็นมรดกที่ทรงคุณค่าตกทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

 

2 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ เกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรี-อยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ๗๖ กิโลเมตร
ตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ  ๓ สายคือ  แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ   แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก   และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้   ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่น ฐาน เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของ ภูมิภาคเอเชียและของโลก ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓

alt
พระราชวังโบราณ

alt
วัดพระศรีสรรเพชญ์

alt
วัดมหาธาตุ

alt
วัดราชบูรณะ

alt
วัดพระราม

alt
วิหารพระมงคลบพิตร

alt
พระราชวังจันทรเกษม

alt
วัดสุวรรณดาราราม

alt
วัดพนัญเชิง

alt
วัดใหญ่ชัยมงคล

alt
วัดไชยวัฒนาราม

alt
วัดวรเชษฐาราม

alt
วัดภูเขาทอง

alt
วัดหน้าพระเมรุ

alt
เพนียดคล้องช้าง

alt
วัดพุทไธศวรรย์

alt
ปราสาทนครหลวง

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ยังคงปรากฏร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลป-วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่   งดงาม   และทรงคุณค่า  สะท้อนให้รำลึกถึงภาพความโอ่อ่าสง่างามของปราสาทราชวังวัดวาอาราม ป้อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีต นครประวัติศาสตร์แห่งนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความชาญฉลาดของชุมชนหนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกที่ตั้งชุมชนในบริเวณที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน เพื่อให้เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบรูณ์         พร้อมไปกับเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึกศัตรูจากภายนอก นอกจากนั้นผลงานด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม ยังเป็นประจักษ์พยานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอารยธรรมแห่งชุมชน หนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ อีกด้วย
หลักฐานแห่งอารยธรรมของชาวกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้นครประวัติศาสตร์พระนครศรี อยุธยา ได้รับการเชิดชูคุณค่าไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ในประพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
มรดกโลกอยุธยา ในปัจจุบัน
ปัจจุบันนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากำลังมีกาารขยายตัวทางกายภาพอย่าง มาก โดยมีการขยายเมือง เพื่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การสร้างอาคารที่บดบังทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นการทำลายคุณค่าของโบราณสถาน ตลอดจนการพัฒนาของถนนหนทางภายในเขตเมือง เพื่อรองรับการคมนาคมที่นักท่องเที่ยวต่างมาเยี่ยมชมอุทยานประวัติ-ศาสตร์ ทำให้เขตพัฒนาเป็นไปอย่างไร้ทิศทางของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เช่น การสร้างเสาไฟรูปนางหงส์ ที่กระจายอยู่โดยทั่วของใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา ปัญหาของขยะมูลฝอย การสร้างบ้านพัก ที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร อยู่โดยรอบโบราณสถาน และการถมคูคลองต่าง ๆ เป็นต้น
ดังนั้นหากอุทยานประวัติศาสตร์นครศรีอยุธยาไม่ได้รับการเอาในใส่ดูแลจาก หน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่ต้องมีความเข้าใจในการพัฒนาเมืองที่เป็นเมืองเก่า ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย และทำลายคุณค่าของความเป็นเมืองเก่าที่ได้รับการยอมรับเป็นเมืองมรดกโลก ก็อาจจะทำให้เมืองเก่าแห่งนี้ถูกลดถอยความสำคัญในอนาคตได้

 

3 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาว นาน             วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็น บริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่ง หนึ่งในบรรดามรดกโลก


alt

ผลการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีจากบ้านเชียงที่มีอยู่ แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงเริ่มต้นขึ้นเมื่อราว ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว และมีความต่อเนื่องมาจนถึงราว ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงระยะเวลายาวนานนับพันๆ ปีของวัฒนธรรมบ้านเชียงได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ตลอดเวลา ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นทั้งในด้านพฤติกรรมและวัตถุเนื่องในวัฒนธรรมซึ่ง ได้แก่ ประเพณีการฝังศพ และภาชนะดินเผา

alt

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นปรากฎการณ์สำคัญของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่นที่ สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวแทนวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยี ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบทอดยาวนานกว่า ๕,๐๐๐ ปี ในช่วงเวลาระหว่าง ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสตศักราชถึงคริสตศักราช ๒๐๐ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในทะเบียนบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้ม ครองมรดกโลก เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ ด้วยคุณค่าและความโดดเด่นตามหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้
“เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว”

alt

มรดกโลก บ้านเชียง ในปัจจุบัน
ด้วยคุณค่าและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างแก่ชุมชนในปัจจุบัน บ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะ แหล่งมรดกโลก ด้านวิชาการ ข้อมูล และโบราณวัตถุจำนวนมหาศาลได้รับการวิเคราะห์แปลความ  โดยนักโบราณคดีที่ทำการศึกษาตามหลักวิชาการ     แต่อย่างไรก็ตามแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้ถูกลักลอบขุดค้น และซื้อขายในตลาดมืดกันอย่างมากมาย โดยทางราชการก็ได้ใช้มาตรการทางกฏหมาย เช่น พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พุทธ-ศักราช ๒๕๓๕ รวมถึงประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๘๙ ที่ห้ามการขุดค้นในพื้นที่บ้านเชียงและบริเวณโดยรอบ ปัจจุบันชุมชนบ้านเชียง ได้มีขยายตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย จึงต้องเร่งกำหนดขอบพื้นที่ที่ชัดเจนและครอบคลุม เพื่อรักษาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มิให้ถูกทำลายหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ดังนั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจกันของทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อช่วยกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญแห่งนี้ไว้ให้เป็นมรดกตก ทอดต่ออนุชนรุ่นหลังต่อไป

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง

1 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งนับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรก ของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก

lc
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการยกย่องให้เป็นผืนป่าอันยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ ๓ แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ถึง ๖,๒๒๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓,๘๘๘,๗๕๐ ไร่ อยู่ภายในเขต จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศ

alt
เสือดาว อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์เช่นเดียวกับเสือโคร่งจึงถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

alt
สมเสร็จ สัตว์ป่าหายากและมีแนวโน้ม ใกล้สูญพันธุ์จนถูกบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อ ๑ ใน ๑๕ ชนิดของสัตว์ป่าสงวนเมืองไทย

นกเงือกสีน้ำตาลป่าตะวันตก     นกแก๊ก นกเงือกชนิดเล็กที่สุดในเมืองไทย 
alt
^นกเงือกกรามช้างปากเรียบ เป็นนกเงือกหายากที่สุดในเมืองไทย พบเฉพาะทางภาคตะวันตก จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ ๑ ^

คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง นับเป็นผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ของประเทศ ที่เป็นตัวแทนแสดงลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญของผืนป่าในแผ่นดินใหญ่ของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต คือ ไซโน-หิมาลายัน (Sino-Himalayan) อินโด-เบอร์มิส (Indo-burmese) อินโด-ไชนิส (Indo-chinese) และซุนเดอิก (Sundaic) รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งเขต ที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบ นิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่ สุดแห่งหนึ่งของโลก

 

2 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๙ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้

lc
สถานที่ที่ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่

lc
คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก
แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า
พื้นที่ตรงผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น เคยได้รับการเสนอชื่อขึ้นไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๓แล้ว ซึ่งในขณะนั้นได้เสนอแหล่งธรรมชาติอีก ๓ แหล่งสู่ที่ประชุมองค์การยูเนสโกเพื่อพิจารณา คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่ -ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และปรากฏว่าเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุที่ว่าอุทยานแห่งชาติที่เหลือทั้ง ๒ แห่งนั้นเล็กเกินไป และยังมีนโยบายที่ไม่แน่นอนและไม่เพียงพอ 

alt

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่อื่นเป็นจำนวน มาก โดยในจำนวนพืชราว ๑๕,๐๐๐ ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง ๒,๕๐๐ ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง ๑๖ ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า ๘๐๐ ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๑๑๒ ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า ๒๐๙ ชนิด นกกว่า ๓๙๒ ชนิด และเงือก ๔ ชนิด ใน ๖ ชนิดที่พบในประเทศไทย

 

ที่่มา : http://www.thaiwhic.go.th/heritage_thai.aspx

 

 

Go to top