ดังนั้น จึงลองมาทำความรู้จักกับ “โทษประหาร” ในประเทศไทยกัน

prahan

#บ้านเรามีโทษประหารหรือไม่ ?

มีมาช้านานแล้วและปัจจุบันก็ยังมีอยู่

 

#ความผิดใดบ้างที่มีโทษตามกฎหมายถึงประหารชีวิต ?

ความผิดฐานค้ายาเสพติด, ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น, ความผิดฐานฆ่าข่มขืน, ความผิดฐานกบฏ, ความผิดฐานก่อการร้าย ฯลฯ จะเห็นได้ว่า ความผิดฐานฆ่าข่มขืน มีโทษตามกฎหมายถึงประหารชีวิต อยู่แล้ว

 

#วิธีการประหาร ?

โทษประหารในสมัยโบราณที่ใช้กันทั่วไปก็คือ “การบั่นคอ” ต่อมาเพื่อให้ดูทันสมัยมากขึ้น ไม่ให้ชาวตะวันตก มองว่า ป่าเถื่อน จึงเปลี่ยนเป็น “ยิงเป้า” คือ ใช้ปืนยิงให้ตาย โดยใช้มาตั้งแต่ปี 2477 เรื่อยมาจนกระทั่งในปี 2546 ได้เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิต จาก “ยิงเป้า” เป็นวิธี “ฉีดยา” ให้ตาย ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน

 

#มีการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ?

24 ส.ค. 2552 ทางราชทัณฑ์ได้ทำการประหารชีวิตด้วยการฉีดยานักโทษคดียาเสพติดรายสำคัญ 2 ราย คือ นายบัณฑิต เจริญวานิช และนายจิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ นักโทษคดียาเสพติดรายใหญ่ ซึ่งถูกจับกุมพร้อมของกลางยาบ้า 100,000 เม็ด จากนั้นก็ไม่มีการประหารชีวิตจริงอีกเลย นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 7 ปีแล้ว

 

#ระยะเวลานานแค่ไหน จึงจะถือว่าประเทศใดไม่มีโทษประหาร ?

ในทางพฤตินัย หรือในทางปฏิบัติจริง แม้ว่ากฎหมายในประเทศนั้นยังมีโทษประหารอยู่ ตามหลักสากล หากไม่มีการประหารชีวิตจริง เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 10 ปี ถือว่า ไม่มีโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ

 

#ปัจจุบันมีกี่ประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต ?

ประมาณ 22 ประเทศ ที่ยังคงโทษประหารชีวิต หรือคิดเป็น 1 ใน 10 ของประเทศทั่วโลก ในขณะที่มีประมาณ 140 ประเทศ หรือคิดเป็นมากกว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลก ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ

------------------------

(ไขข้อข้องใจ “โทษประหารชีวิต” : โดย...โอภาส บุญล้อม)

ขอขอบคุณบทความจาก http://www.komchadluek.net/news/scoop/232504

Go to top