ภูหลวงมีระดับความสูง 1,200-1,500 เมตร ทุกๆปีในช่วงฤดูร้อน(ก.พ.-เม.ย.) บนยอดภูหลวงจะบานสะพรั่งไปด้วยดอกไม้กล้วยไม้นานาชนิด โดยเฉพาะกับดอกกุหลาบแดง(Rhododendron simsii) ที่ได้ชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ภูหลวงจะบานแดงสะพรั่งสดใสในหลายพื้นที่ด้วยกัน อาทิ โคกนกกระบา ผาเตลิ่น ผาสมเด็จ โคกแปกดำ โคกแปกใหญ่ ชายป่าละเมาะ ริมลำธาร รวมถึงบริเวณที่ทำการหน่วยโคกนกกระบา
กุหลาบแดง ดอกไม้สัญลักษณ์ภูหลวง
นอกจากกุหลาบแดงแล้ว ภูหลวงในช่วงหน้าร้อนยังมีดอกไม้ กล้วยไม้เด่นๆ อาทิ กุหลาบขาว เอื้องตาเหิน เอื้องม่อนไข่ สิงโตใบพาย เอื้องสำเภางาม สร้อยระย้า เอื้องมยุรา ฯลฯ ซึ่งทางจังหวัดเลย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานเลย ได้บรรจุให้กิจกรรมท่องเที่ยวชมกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์บนภูหลวง เป็นหนึ่งในไฮไลท์ของปฏิทินท่องเที่ยวประจำเดือนมีนาคม อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เที่ยวทั้งปี...เที่ยวที่เลย”
สำหรับผู้สนใจเที่ยวชมดอกไม้บนภูหลวงสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง โทร.0-4280-1955 และสามารถสอบถามข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ในจังหวัดเลย เชื่อมโยงกับภูหลวงได้ที่ ททท.เลย โทร. 0-4281-2812
กุหลาบขาว
น้ำเต้าฤาษี
รองเท้านารีปีกแมงปอ
รองเท้านารีอินทนนท์
สิงโตใบพาย
เอื้องสำเภางาม
เอื้องแววมยุรา
เอื้องตาเหิน
สิงโตสยาม
สร้อยระย้า
ส้มแปะ
ที่มา:http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000024924