มาแล้วครับ ไผ่เก้าดาวจากการทุ่มเทของ "พี่โจ" แห่งไร่ภูรักเลย ที่นำกล้าพันธุ์ไผ่เก้าดาวทั้ง 5 สายพันธุ์ ที่พร้อมจำหน่ายให้กับผู้รักในไผ่ และต้องการจะปลูกไผ่เพื่อการใช้งานและเพื่อความสวยงาม ตอนนี้ ไผ่มีจำหน่ายแล้ว ติดต่อที่ Fb: ไร่ภูรักเลย
โทร.081-6106183 โจ
ไผ่เก้าดาวที่อเมริกากลางและอเมริกาใต้มีทั้งหมด 38ชนิด และที่เลือกมานี้เป็นชนิดที่ลำตรง งอกห่างๆเนื้อไม้หนา ข้อถี่ๆเหมาะกับการใช้ลำ
มีกล้าไผ่เก้าดาว 5 ชนิด คือ
1.ไผ่เก้าดาวโคลัมเบีย (Guadua angustifolia Kunth)
มาจากการเพาะเมล็ดอายุขัย 120 ปี ขนาด ลำเมื่อโตเต็มวัย เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่ปล้องที่ 5 นับจากผิวดิน 6-8 นิ้ว
ความยาวของลำ 25-30 เมตร ราคา 120 .-
2.ไผ่เก้าดาวหนามน้อย(Guadua angustifolia Kunth less thorny)
ไม่ทราบอายุที่เหลือ ขนาดลำเมื่อโตเต็มวัย เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่ปล้องที่ 5 นับจากผิวดิน 6-8 นิ้ว
ความยาวของลำ 25-30 เมตร ราคา 500 .-
3.ไผ่เก้าดาวสองสี(Guadua angustifolia Kunth bicolor)
ไม่ทราบอายุที่เหลือ
ขนาดลำเมื่อโตเต็มวัย
เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่ปล้องที่ 5 นับจากผิวดิน 6-8 นิ้ว
ความยาวของลำ 25-30 เมตร
ราคา 500 .-
4.ไผ่เก้าดาวยักษ์(Guadua aculeata)
ไม่ทราบอายุที่เหลือ
ขนาดลำเมื่อโตเต็มวัย
เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่ปล้องที่ 5 นับจากผิวดิน 7-9 นิ้ว
ความยาวของลำ 25-30 เมตร
ราคา 500 .-
5.ไผ่เก้าดาวหลวง(Guadua chacoensis argentina)
เพาะเมล็ด มีอายุเหลือประมาณ 120 ปี
ขนาด ลำเมื่อโตเต็มวัย เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่ปล้องที่ 5 นับจากผิวดิน 7-9 นิ้ว
ความยาวของลำ 25-30 เมตร
ราคา 500 .-
ไผ่เก้าดาวทั้งห้าชนิดนี้มีจุดเด่นเรื่องลำตรง ขนาดลำโตพอเหมาะและแข็งแรงเหมือนกัน ติดตามเพิ่มเติมได้: Fb: ไร่ภูรักเลย โทร.081-6106183 โจ
ประโยชน์ของไผ่เก้าดาว
ชื่อสามัญ Guadua bamboo
ชื่อวิทยาศาสตร์ Guadua angustifolia Kunth
ชื่อวงศ์ Guadua
ไผ่เก้าดาว เป็นไผ่ที่มีความแข็งแรงที่สุด มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าเขตร้อนแถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแถบทะเลแคริเบียน ในปัจจุบันนี้มีอยู่ประมาณ 38 ชนิด และได้นำเข้ามาปลูกขยายพันธุ์ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2555 ซึ่งมีอยู่ 5 ชนิดที่นิยมปลูกเลี้ยงกันคือ
1. Guadua angustifolia Kunth -เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
2. Guadua angustifolia Kunth less thorny-เป็นชนิดที่มีหนามน้อย
3. Guadua angustifolia Kunth bicolor-ลำต้นเป็นสองสี
4. Guadua aculeate-ไผ่เก้าดาวยักษ์
5. Guadua chacoensis argentina-ไผ่เก้าดาวหลวง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะของลำต้นกลม ตรง แข็งแรงทนทาน มีอายุอยู่ได้นานกว่า 100 ปีขึ้นไป ความสูงของลำต้นมีประมาณ 25-30 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-9 นิ้ว กอไผ่ชนิดนี้จะเจริญเติบโตกระจายห่างกันพอดี โดยไม่ขึ้นรวมกันแน่นเหมือนไผ่ทั่วไป จึงทำให้เติบโตได้รวดเร็ว เนื่องจากไม่แย่งอาหารกันและได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ ให้หน่อขนาดใหญ่และดก ไผ่เก้าดาวจะมีดอกออกมาครั้งหนึ่งเมื่อมีอายุผ่านไปประมาณ 120 ปี ส่วนเมล็ดของไผ่เก้าดาวมีสีน้ำตาล ลักษณะจะคล้ายๆกับเมล็ดข้าว ไผ่ชนิดนี้จะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อปลูกไปได้ประมาณ 4 ปี และเมื่อมีอายุประมาณ 6-7 ปี จะให้ผลผลิตประมาณไร่ละ 800-1,280 ลำ
การปลูก
เมื่อใช้ระยะปลูกที่เหมาะสมที่ 5×5 เมตร หรือปลูกในอัตราไร่ละ 64 ต้น ลำไผ่จะเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 4-5 นิ้ว และสูงประมาณ 20-25 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ในงานเกือบทุกประเภท ดูแลรักษาได้ง่าย ไม่มีโรคและแมลงรบกวน มีต้นทุนที่ต่ำ ให้ผลตอบแทนเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานกว่า 100 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยให้เพียงปีละ 2 ครั้ง ในระยะ 3 ปีแรกก่อนให้ผลผลิตสามารถสร้างรายได้ด้วยการปลูกพืชอื่นแซมได้
การขยายพันธุ์
ไผ่เก้าดาวชอบภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ทั้งในที่ราบและบนภูเขา มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมทั้งแบบแห้งแล้งและฝนตกชุกได้ดี เป็นพันธุ์ไม้ที่สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายจากทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็น กิ่ง ข้อ หรือตาไม้ ทำได้ด้วยวิธีการแบ่งหรือแยกกอ แล้วนำไปปักชำในวัสดุเพาะที่มีส่วนผสมของแกลบดำ ก็จะงอกเป็นต้นใหม่ขึ้นมา หรือจะใช้วิธีการเพาะจากเมล็ดก็ได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
เนื้อไม้มีความแข็งแกร่งทนทาน มีเสี้ยนไม้ใหญ่ แป้งในเนื้อไม้มีไม่มากเหมือนไผ่ทั่วไป ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องมอด ปลวกและแมลงเข้าทำลาย เนื้อไม้มีความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดี ทนทานต่อแรงแผ่นดินไหวได้ดีกว่าคอนกรีต เมื่อแห้งเนื้อไม้ก็จะไม่แตก จึงนิยมนำมาปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มากมาย และต้นไผ่เก้าดาวยังมีประสิทธิภาพในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยลดมลพิษจากชั้นบรรยากาศได้ดีมากอีกด้วย แม้หลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้วเนื้อไม้ก็จะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา พื้นที่บริเวณสวนไผ่มักจะมีความชุ่มชื้นเย็นสบายตลอดทั้งปี เนื่องจากต้นไผ่สามารถดูดซับน้ำไว้ได้เป็นจำนวนมาก ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและการขาดน้ำในหน้าแล้ง ช่วยลดปัญหาการพังทลายของดิน ส่วนใบที่ร่วงทับถมกันบนดินก็จะกลายเป็นอินทรีย์วัตถุที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินในระยะยาวอีกด้วย จึงถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง
Copyright © 2013 วิชาการเกษตร