backpack   แนะนำแหล่งท่องเที่ยวใหม่ย้อนยุค ชานเมืองพระนคร หากจะพูดถึงบริบทแหล่งท่องเที่ยวของไทยวันนี้ กระแสการท่องเที่ยวชมของเก่าที่เป็นตลาดเก่าร้อยปีตามที่ต่างๆ ตลาดน้ำตามชุมชนชนบท หรือกระทั่งการสร้างสรรค์สถานที่ใหม่แต่รูปลักษณ์ให้เป็นสถานที่เก่า เช่น เพลินวานที่หัวหิน เป็นต้น หรือที่บ้านเราก็เชียงคานริมโขง กำลังกลับมาคึกคักอีกครั้ง

  

 {youtube width="500" height="370"}iVOpb99Oiz4{/youtube}

 วันนี้มีนักบริหารธุรกิจกลุ่มหนึ่งได้มีความคิดสร้างสรรค์ จัดสร้างสถานที่แหล่งท่องเที่ยวขึ้นมาใหม่ แต่คงรูปลักษณ์เป็นสมัยวันวาน ภายใต้ชื่อว่า "เวิ้งพระนคร" แต่ตั้งอยู่ชายแดนกรุงเทพทางด้านตะวันออก ด้านหนึ่งติดคลองประเวศน์บุรีรมย์ อีกด้านหนึ่งติดถนนอ่อนนุช ลาดกระบัง ใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิ

 

 เข้าใจว่าความมุ่งหมายของผู้จัดสร้างสถานที่แห่งนี้ คงพยายามสื่อความว่าสถานที่แห่งนี้คือแหล่งค้าขายในสมัยวันวาน แม้ชื่อยังใช้คำว่า "เวิ้ง" ซึ่งชาวเราสมัยนี้จะยังเห็นสถานที่แหล่งค้าขายแบบสมัยเก่าที่ชื่อ "เวิ้งนาครเขษม" ถนนเจริญกรุง ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนสภาพไปในเร็ววันนี้ เพราะสถานที่แห่งนี้ได้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือเจ้าของรายใหม่ไปแล้ว

"เวิ้งพระนคร" สถานที่แห่งใหม่ที่กล่าวมาแล้ว ภายในแบ่งออกเป็นสามโซน ตั้งชื่อโซนเป็นแหล่งค้าขายสมัยเก่าที่ชาวเราคุ้นชื่อคือ โซนเยาวราช โซนปากคลองตลาด เป็นต้น โดยสถานที่อาคารตกแต่งรูปลักษณ์ย้อนอดีต สมัย พ.ศ. 2413- 2513 โดยสร้างบรรยากาศสมัยก่อนได้อย่างลงตัวที่สุด

 

 

bp
นายครรชิต พาดี และทีมงาน
alt
บนเนื้อที่กว่า26 ไร่ ย่านลาดกระบัง ถูกเนรมิตเป็นตลาดย้อนยุคในช่วง พ.ศ.2413-2513 ผสานกลิ่นอายตลาดบกฝั่งพระนคร ที่คนไทยโหยหาบรรยากาศเก่าๆ รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติได้สัมผัสชุมชนชาวไทยสมัยก่อน แถมยังได้ของติดไม้ติดมือกลับบ้านจาก “ตลาดบก เวิ้งพระนคร”

bp
ภาพกราฟิกด้านหน้าตลาดบก เวิ้งพระนคร
alt
คงปฎิเสธไม่ได้ว่าสีสันแห่งวันวาน กำลังกลายเป็นที่นิยมของคนไทยสังเกตได้จากสถานที่เก่าแก่ผู้คนในชุมชนอนุรักษ์ความโบราณไว้ได้ ก็จะถูกพัฒนาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยววันวานโกยรายได้ไม่น้อย หรือแม้กระทั่งตลาดที่สร้างขึ้นมาใหม่แต่เมื่อนำความเก่าเข้าไปเกี่ยวข้องก็ได้รับนิยมเช่นเดียวกัน
bp
ตัวอย่างอาคารโบราณ เนรมิตเป็นหน้าร้านสำหรับจำหน่ายสินค้า
alt
กระแสดังกล่าวทำให้ผู้คร่ำหวอดในวงการพัฒนาธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ “ครรชิต พาดี” กรรมการผู้จัดการ บริษัท พระนครมาร์เก็ตเพลส จำกัด ผุดไอเดีย “ตลาดบก” หวังเนรมิตแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ย่านลาดกระบัง แฝงจุดขายการชอบปิ้งสไตล์ย้อนยุคในช่วงปี พ.ศ.2413-2513 โดยคืนชีพบรรยากาศตลาดบกฝั่งพระนครที่มีกลิ่นอายงานสถาปัตยกรรมตะวันออกและตะวันตกเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว มารังสรรค์ใหม่
bp
โมเดลตลาดเยาวราช
alt
“การทำตลาดบก เวิ้งพระนคร ถือเป็นการนำความชอบส่วนตัวในการสะสมของเก่า ศึกษาประวัติศาสตร์ ที่ประจวบเหมาะกับคนไทยกำลังโหยหาความเป็นอดีตเข้าไว้ด้วยกัน สุดท้ายมาลงตัวที่ตลาดบก เวิ้งพระนคร ที่เราต้องการสร้างบรรยากาศตลาดให้ไม่เหมือนใคร โดยนำประเทศไทยในช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นธีมหลักในการออกแบบตลาดบก เพราะในช่วงนั้นหลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงนำความเจริญหลายด้านมาสู่เมืองไทย เช่น สถาปัตถยกรรม วัฒนธรรมการกินอยู่ การเเต่งกาย ความสะดวกสบายต่าง ๆ นานา อีกทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมไทยเชื่อมโยงไปสู่ความเป็นสากลเกือบจะเต็มรูปแบบ ประกอบกับปี พ.ศ.2513 เป็นปีสุดท้ายที่เมืองไทยให้บริการรถราง เลยอยากจะสะท้อนบรรยากาศ ตลาดบกฝั่งพระนครในอดีตออกมาให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นว่ายุคที่จัดว่ารุ่งเรืองสุดขีดในอดีตเป็นเช่นไร

bp
alt
ความน่าสนใจของตลาดบก เวิ้งพระนคร อยู่ตรงที่เจ้าของไอเดียธุรกิจนี้ ได้นำเอาแหล่งค้าขายที่รุ่งเรืองในอดีตกลับมาคืนมาอีกครั้ง ในโซนแรก คือ โซนตลาด ที่รวบรวมร้านค้า 316 ร้านค้าเข้าไว้ด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 5 ตลาดยอดนิยม คือ 1.ตลาดเยาวราช ที่แต่เดิมเป็นแหล่งค้าขายเครื่องประดับ อัญมณี ดังนั้นโซนนี้จึงจำลองบรรยากาศและสไตล์ตกเเต่งร้านค้าแบบตลาดย่านคนจีน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ 2.ตลาดเสือป่า ที่สมัยก่อนเลื่องชื่อในเรื่องแหล่งอาหารการกิน ดังนั้นโซนนี้จึงเป็นแหล่งรวบรวมร้านอาหารอร่อยกว่า 100 ร้านค้าทั่วทุกภูมิภาค 3.ปากคลองตลาด เดิมเป็นแหล่งสินค้าแฟชั่น กิ๊ฟชอป ของสวยๆ งามๆ ที่ส่วนใหญ่นำเข้ามาจาก สินค้าแบรนด์เนมจากต่างประเทศแต่ราคาไม่แพง ทำให้โซนนี้กลายเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น 4.ตลาดสะพานเหล็ก ออกแบบให้เป็นแหล่งนัดพบคนรักของเก่า เน้นการซื้อขายและเปลี่ยนของเก่า ของสะสม งานศิลปะ งานไอเดีย และ 5.ตลาดนางเลิ้ง ในอดีตถือว่าเป็นตลาดบกแห่งแรกของไทย ที่จำหน่ายของของฝาก ของที่ระลึก ดังนั้นโซนนี้จึงเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าราคาถูกแต่คุณภาพดี รวมถึงสินค้าโอทอปทั่วทุกภูมิภาคของไทย

alt
alt
นอกจากพื้นที่สำหรับจำหน่ายสินค้าแล้วตลาดบก เวิ้งพระนคร ยังจัดสรรพื้นที่สำหรับสร้างเป็นแหล่งพักผ่อนและที่พักแก่นักท่องเที่ยวด้วย คือ โซนวิถีธารา เป็นการใช้พื้นที่ริมคลองประเวศบุรีรมย์ แบ่งเป็น 2โซน คือ 1.โซนร้านอาหารเรือนแพ จำนวน 10 ร้านค้า เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและตอบโจทย์ลูกค้าแบบกรุ๊ปทัวร์ 2.โซนท่าเรือนำเที่ยว บริการเรือนำเที่ยวในเส้นทางระยะสั้น (ไป-กลับ ไม่เกิน 45 นาที) หรือระยะกลาง (ไป-กลับ ไม่เกิน 3 ชั่วโมง) เน้นศึกษาวิถีชาวบ้านริมสองฝั่งคลอง ส่วนพื้นที่สำหรับที่พัก คือ โซนแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ โซนพะงัน เป็นการทำเกาะจำลองในทะเลสาบน้ำจืดขนาดกว่า 4,000 ตารางเมตร ให้เป็นเกาะพะงัน มีเตียงผ้าใบเหมือนบางแสน มีกิจกรรมการแสดง สนุก ตื่นเต้น เพลิดเพลิน และ โซนพระนครโฮมสเตย์ เป็นห้องพักสไตล์ย้อนยุคมี 120 ห้อง ออกแบบโดย 120 ดีไซนเนอร์ รุ่นใหม่

bp
alt
เมื่อการจัดสรรพื้นลงตัวออกมาเป็นสัดเป็นส่วนตามที่นายครรชิต ต้องการให้เป็นตลาดย้อนยุคแล้ว สินค้าที่นำมาจำหน่ายก็จะต้องคัดสรรเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้หลุดคอนเซ็ปต์ที่วางไว้ ภายใต้สโลแกน “ใครไม่คัดเราคัด” ดังนั้นอะไรที่เป็นสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ จะไม่มีให้เห็นในตลาดบก เวิ้งพระนคร อย่างแน่นอน “ร้านค้าที่จะเข้ามาค้าขายที่นี่ จะคัดเฉพาะสินค้ายอดนิยม สินค้าที่มีความโดดเด่น สินค้าจากผู้ประกอบการมืออาชีพ และจะไม่ให้ร้านค้าขายสินค้าประเภทเดียวกันซ้ำกันมาก โดยค่าเซ้งร้านเบื้องต้นอยู่ที่ 200,000 บาท (พื้นที่ร้าน 3x5 ม.) ค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 6,000-8,000 บาท สัญญา 3 ปี ปัจจุบันโซนร้านค้าถูกจองไปแล้วประมาณ 70% นอกจากนี้ยังมีลานกิจกรรมที่ทางเรายกพื้นที่ให้ผู้ที่ต้องการจัดงานออแกไนซ์ฟรีนาน 6 เดือน เพียงนำกิจกรรมที่ต้องการจัดมานำเสนอ หวังดึงนักชอปในช่วงแรกของการเปิดตลาดอีกทางหนึ่ง”

bp
alt
ส่วนปริมาณนักท่องเที่ยวที่นายครรชิตตั้งเป้าไว้ คือ วันธรรมดา 8, 000 คน วันเสาร์ อาทิตย์ 15,000 คน มีทั้งนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติ เช่น จีน ไต้หวัน อินเดีย และตะวันออกกลาง ที่ต้องการมาพักผ่อนหย่อนใจ เทียบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้า- ออกในสนามบินสุวรรณภูมิ เเต่ละวัน 60,000 คน หลังจากที่เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการไปแล้ว

ิย
แผนที่ตลาดบก เวิ้งพระนคร
alt

***สนใจจับจองพื้นที่โทร 08-1492-4075, 08-2327-7555, 0-2327-3979-80 หรือเยี่ยมชมรายละเอียดโครงการได้ที่ www.taladbok.com และที่ www.facebook.com/taladbok***

 

 

ที่มา:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=century&month=23-10-2012&group=22&gblog=47

 

 

 

Go to top