วันที่ 26 ม.ค.58 เผย..ฝรั่งเศสเคยรังแกไทย ยึดดินแดนด่านซ้าย จังหวัดเลย ตราด และจันทรบุรี

ตรงไหนที่เป็นส่วนสำคัญ แอดมินจะทำไฮไลท์ไว้นะ .. เรื่องควรจดจำและระลึก ถึงประวัติศาสตร์บางเรื่องในอดีต ดีแต่ว่าการรบส่วนใหญ่ไปเกิดขึ้นทางด้านจังหวัดตราดและจันทรบรีเป็นซะมาก

10392312 317461038443930 3242333944281235864 n

ในอดีตตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา เขมรตกเป็นประเทศราชของสยามมาช้านาน เช่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวร ยกทัพไปตีกรุงละแวก โดยสามารถตีเมืองของฝ่ายละแวก ได้ถึง 3 เมือง นั่นคือเมืองโพธิสัตว์ เมืองพระตะบอง และเมืองบริบูรณ์ และ เข้าหักเอากรุงละแวก ราชธานีของฝ่ายเขมรได้ด้วย
** ความเดิม ใครเป็นสามทหารเสือคู่พระทัย สองผู้จงรักภักดี หนึ่งผู้เป็นกบฏ คลิ๊กไปที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/296496110540423
จนกระทั่งญวนตั้งประเทศได้อย่างมั่นคง และเริ่มรุกรานดินแดนเขมรในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ส่งผลให้ไทย กับ ญวนทำสงครามแย่งชิงดินแดนเขมรกันอยู่เป็นเวลานานกว่า 10 ปี ในสงคราม “อานนามสยามยุทธ”
สุดท้ายจบลงด้วยการเจรจา ให้เขมรส่งเครื่องราชบรรณาการแก่ไทย และ ญวนในฐานะประเทศราช แต่ยอมรับอำนาจให้ไทยเป็นผู้สถาปนากษัตริย์เขมร จนต่อมาฝรั่งเศสได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามายังดินแดนอินโดจีน และสามารถทำสงครามล่าอาณานิคมยึดดินแดนญวนได้ทั้งหมด


พ.ศ.2410 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ กษัตริย์เขมรที่ได้รับการสถาปนาโดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้แปรพักตร์ไปทำสัญญาขอเป็นรัฐในอารักขาของอินโดจีนฝรั่งเศส ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนเขมรส่วนนอก ไปให้กับฝรั่งเศส


พ.ศ.2436 อินโดจีนฝรั่งเศส ได้ข่มขู่ให้ไทยยอมมอบดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสกล่าวอ้างว่า ดินแดนลาว เคยเป็นประเทศราชของญวนมาก่อน เมื่อญวนตกเป็นของฝรั่งเศสแล้ว ดินแดนลาวจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย จากนั้นฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย
ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ต้องทรงยอมสละดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสไปด้วยความตรอมพระทัย จนมีพระราชปรารภว่า "หากความเป็นเอกราชของกรุงสยามหมดสิ้นลงเมื่อใด ชีวิตของฉันก็คนหมดสิ้นลงเมื่อนั้น"


** ความเดิมตอนนี้..ฝรั่งเศส ประเทศเขาไม่ได้เจริญจากประชาธิปไตย ยกกรณีเงินถุงแดง คลิ๊กไปที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/258296617693706
ปีเดียวกันนั้นอินโดจีนฝรั่งเศส ได้เข้ายึดเมืองจันทร์ ตั้งแต่ตอนเช้าที่มีหมอกหนา ฝ่ายไทยได้ระดมชาวบ้านจันทบุรี จากอำเภอข้างเคียง มาตั้งเป็นกองกำลังรับข้าศึกที่ “แหลมสิงห์” ทำการชักธงรบที่ทำด้วยแผ่นไม้กระดาน บนเสากระโจมไฟ เพื่อแสดงว่าสู้เข้มแข็งเหมือนไม้กระดาน
ชาวบ้าน ได้ขึ้นประจำบนป้อมไพรีพินาศ ที่เขาแหลมสิงห์ และป้อมพิฆาตปัจจามิตร เตรียมต่อสู้กับฝรั่งเศส ด้วยปืนบนป้อม ปืน มีด ต่าง ๆ และเอาเรือลำใหญ่ ของวัดปากน้ำแหลมสิงห์ และ เรือของชาวบ้าน พากันขนหินมาใส่เรือจนเต็มทุกลำ และพากันไปจะจมเรือขวางลำแม่น้ำไว้


โดยจะจมเรือขวางร่องน้ำ ปิดทางเดินเรือ ทำการปักหลักปักตอต่างๆ ทุกวิถีทาง รวมทั้งการ สะสมเสบียงอาหาร แก่พลเรือนเป็นการเตรียมต่อสู้แบบยืดเยื้อ นอกจากนั้นได้ย้ายปืนจากป้อมหัวแหลมไปไว้บนป้อมบนเขา 2 กระบอก แต่รัฐบาล สั่งไม่ให้สู้ เพราะไม่ต้องการให้คนไทยต้องเสียเลือดเนื้อ จะใช้การเจรจาด้วยสันติวิธี และให้ฝรั่งเศส ผ่านเข้ายึดเมืองจันทร์ได้
กองเรือฝรั่งเศส 2 ลำ ยึดปากน้ำจันทบุรี ทอดสมอจอดระหว่างเกาะนมสาว และ เขาแหลมสิงห์ วันต่อมาเรือของฝรั่งเศส ได้มาตรวจการปิดอ่าวที่จันทบุรี และได้ทำการหยั่งน้ำ และทำแผนที่ บริเวณปากน้ำจันทบุรี และได้จัดส่งเรือกลไฟเล็ก ไปที่ป้อมแหลมสิงห์ เพื่อเอาประกาศปิดอ่าวจันทบุรี มาแจ้งให้ทราบ


เรือฝรั่งเศส แล่นผ่านป้อมปืนไทย เข้ามาในระยะประมาณ 1 กม.เห็นลำเรือถนัด ถ้าจะยิงก็คงถูก ครูคอลส์ ฝ่ายไทยสั่งให้ยิง แต่พระเทพสงคราม ห้ามไว้เสีย ก็เลยไม่ได้ยิง วันต่อมาเรือฝรั่งเศสอีกลำ ชักธงขาว แล่นเข้ามาในปากอ่าวจันทบุรี จอดที่ปลายสะพาน และมีทหารฝรั่งเศสขึ้นจากเรือวิ่งไปบนสะพาน เข้ามาในที่ทำการป้อมแล้วส่งหนังสือของแม่ทัพเรือฝรั่งเศส
ฝ่ายไทยถูกปิดอ่าว 8 วัน จึงยอมรับคำขาดของฝรั่งเศส ทำให้แม่ทัพเรือฝรั่งเศสยกเลิกปิดอ่าว เมื่อเลิกการปิดอ่าวแล้วกองเรือฝรั่งเศส เดินทางกลับไปไซ่ง่อน คงเหลือเรืออยู่ที่สถานทูตฝรั่งเศส เรือส่วนที่เหลือได้ไปยึดปากน้ำแหลมสิงห์ จันทบุรี และประจำอยู่กับกองทหารฝรั่งเศส ที่ยึดจันทบุรี
ต่อมาเรือเมล์ฝรั่งเศส 1 ลำ นำทหารอินโดจีนฝรั่งเศส มีทหารฝรั่งเศส จำนวน 66 นาย ทหารญวน จำนวน 150 นาย รวม 216 นาย เข้ามา ใช้จักรเข้ามาทอดสมอ ป้อมปากน้ำ มาอยู่เมืองจันทบุรี และ ทหารฝรั่งเศสอีกชุด นำทหารเขมร ญวณ อีก 205 นาย ลงเรือแจว มาขึ้นพักเช่นกัน


ที่ป้อมปืนเมืองจันทบุรี มีทหารฝรั่งเศส ไปรักษาประมาณ 30 นาย แล้วทำเสาปักธงฝรั่งเศส ขึ้น ที่ป้อมเขาสิงห์ จากนั้นมีเรือทยอยนำทหารอินโดจีนฝรั่งเศส มาส่งขึ้นฝั่งจันทรบุรีเรื่อยๆ ทหารฝรั่งเศส ได้ลงเรือกรรเชียง ขึ้นตลิ่งไปตามบ้านราษฎรไทย ทำให้พากันไปแจ้งความกับหลวงวิสูตรโกษา แต่ก็ทำอะไรไม่ได้


ช่วงนี้ฝรั่งเศส นำทหารเข้ามาเมืองจันทบุรีตลอด ทั้งของฝรั่งเศสเอง และ ทหารญวน จากเมืองเมท้อ พร้อมปืนใหญ่ หีบใส่กระสุนปืน โค เหล้า ถังดินปืน แป้งขนมปัง ข้าวเปลือก จำนวนมาก รวมมีนายทหารและพลทหารญวน และฝรั่งเศสทั้งสิ้น ที่มาอยู่ที่เมืองจันทบุรีประมาณ 463 นาย มีปืนใหญ่ 2 บอก


ทหารฝรั่งเศส ประมาณ 100 คน ทหารญวนประมาณ 300 คน และจัดทหารประมาณ 1 กองร้อย รักษาการณ์อยู่ที่แหลมสิงห์ นอกนั้นไปตั้งอยู่ที่ค่ายทหารในเมืองจันทบุรี ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งกองทหารเรือ พวกฝรั่งเศส ตัดต้นไม้ ขุดสนามเพลาะเพิ่มเติมอยู่ทุก ๆ วัน มิได้ขาด และทำแผนที่อยู่ทุกวันต่อเนื่อง


นายทหารเรือฝรั่งเศส ที่จอดอยู่ปากน้ำ ได้เข้าพบผู้สำเร็จราชการเมืองจันทบุรี แจ้งว่าพลทหารญวณที่มาอยู่ ประมาณ 2 เดือน จึงจะเลิกถอนกำลังกลับไป ในระยะแรกที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองจันทบุรี มีเรือรบฝรั่งเศส ผลัดกันมารักษาการณ์อยู่ที่ปากน้ำจันทบุรี และมีทหารประมาณหนึ่งกองร้อย ประจำอยู่ที่แหลมสิงห์


พ.ศ.2437 ต้นปี ฝรั่งเศสจึงไม่ส่งเรือรบมาจอดที่ปากน้ำจันทบุรี เพื่อความสะดวกในการติดต่อกับไซ่ง่อนและกรุงเทพ ฯ จึงได้มีเรือเมล์ ของฝรั่งเศส เดินทางระหว่างไซ่ง่อนกับกรุงเทพ ฯ เป็นประจำ และได้แวะที่จันทบุรี ทั้งขาไปและขากลับ นอกจากนี้ยังมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่เดินทางจากไซ่ง่อน มาตรวจกองทหารที่จันทบุรีตามระยะเวลา


กำลังของกองทหารฝรั่งเศสในปีแรก มากเกินกว่าที่จะมายึดเมืองจันทบุรีไว้เพียงปีเดียวดังที่ตกลงกันไว้ ในช่วงแรกกองทหารฝรั่งเศส ที่เข้ามายึดเมืองจันทบุรี ได้มีการส่งกำลังทหาร ยุทโธปกรณ์ และยุทธบริการ โดยเรือต่าง ๆ เข้ามาประมาณ 24 ครั้ง มีจำนวนทหารฝรั่งเศส และทหารญวน ประมาณ 1,900 คน ปืนใหญ่ กระสุนปืน และสิ่งของต่างจำนวนมาก


พ.ศ.2446 เหตุการณ์ที่เปลี่ยนไป ทำให้ฝรั่งเศสครองอำนาจอยู่ในเมืองจันทบุรียาวนานถึง 11 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต้องทรงทำอนุสัญญา กับฝรั่งเศส เพื่อขอแลกเมืองจันทบุรี กับดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง บริเวณเมืองหลวงพระบาง กับบริเวณเมืองจำปาศักดิ์


พ.ศ.2447 แม้ทหารฝรั่งเศสจะได้ถอนกำลังออกจากเมือง จันทบุรี แต่ก็พากันไปยึดเมืองตราด และบรรดาเกาะทั้งหลายตั้งแต่ใต้แหลมลิงลงไปจนถึงเมืองประจันตคีรีเขต เอาไว้แทน โดยอ้างว่า เพื่อเป็นหลักประกันอีกเช่นเคย ฝ่ายไทยจำต้องทำพิธีส่งมอบเมืองตราดให้แก่ทหารฝรั่งเศส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริถึงสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสฉบับก่อน ที่ทำให้คนในบังคับของฝรั่งเศสได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยเสียเปรียบอย่างมาก ส่วนเมืองตราดนี้ เป็นเมืองหน้าด่านที่ใช้ป้องกันข้าศึกจากทางเขมรและกัมพูชา


นอกจากนั้นยังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และมีพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย พระองค์จึงทรงเปิดการเจรจากับทางฝรั่งเศส โดยขอให้ฝรั่งเศสคืนเมืองตราด เมืองด่านซ้าย เกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปถึงเมืองประจันตคีรีเขต และขอยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของคนในบังคับฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสยื่นข้อเสนอขอแลกเปลี่ยนกับมณฑลบูรพา อันได้แก่ เมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ หรือ ดินแดนเขมรส่วนใน


พ.ศ.2449 ในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็ตกลงกันได้ และมีลงนามในสนธิสัญญาร่วมกัน ตราดกลับมาเป็นของไทยอีกครั้ง โดยต้องแลกกับดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ และ ศรีโสภณจากนั้น ฝรั่งเศสก็ถอนทหารทั้งหมดออกจากเมืองตราด แต่เมืองประจันตคีรีเขตนั้น ฝรั่งเศสไม่ยอมคืนให้กับไทยจนกระทั่งปัจจุบันได้กลายเป็นจังหวัดเกาะกง ของประเทศกัมพูชา
อย่างไรก็ตาม การขีดเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับเขมรกันใหม่ในครั้งนี้ ไม่ได้ยึดตามแนวสันปันน้ำ ซึ่งเป็นข้อตกลงกันไว้ในอนุสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2446 จึงเป็นต้นเหตุของข้อพิพาทดินแดนปราสาทพระวิหาร ไทยกับกับเขมรในเวลาต่อมา


พ.ศ.2450 อินโดจีนฝรั่งเศส ได้กดดันสยามอย่างต่อเนื่อง จนเกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้บีบบังคับให้สยามต้องยอมรับว่าดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ฝั่งตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และพื้นที่ทางตะวันตกของแขวงจำปาศักดิ์ เป็นของฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสได้ยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน เพื่อที่จะได้จันทบุรีกลับมา สยามต้องยอมยกเมืองตราด ให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส


พ.ศ.2473 สยามได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศส ส่งมอบดินแดนที่เคยเป็นของสยามกลับคืน และ 8 ปี ต่อมา อินโดจีนฝรั่งเศส ก็ได้ตกลงที่จะส่งมอบเมือง นครวัด นครธม เสียมราฐ แสนปาง และบริเวณเกี่ยวเนื่องแก่สยาม ในขณะนั้นสยามก็เข้าครอบครองดินแดนที่ได้รับคืน โดยคาดหวังในสนธิสัญญาที่กำลังจะมีขึ้น ผู้ลงนามของทั้งสองประเทศ ได้เดินทางไปยังโตเกียวเพื่อลงนามในสนธิสัญญาส่งมอบดินแดนคืน


** ความเดิมตอนนี้..ข้างล่างด้านในอนุสาวรียชัยสมรภูมิมีอะไร ดินที่ถมมาจากไหน (ตอนจบ) คลิ๊กไปที่ https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/308740869315947
แต่ฝรั่งเศสก็ยังยึดครองเมืองจันทบุรีเอาไว้ โดยอ้างว่า เพื่อเป็นหลักประกันให้ไทยทำตามสนธิสัญญาที่มีต่อกันให้ครบถ้วน เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ามามีอิทธิพลในอินโดจีนแทนที่ฝรั่งเศส รัฐบาลไทยสมัยนั้น ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องดินแดนที่ไทยเสียไปกลับคืน


พ.ศ.2484 รัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งมีสายสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลไทยในขณะนั้น ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ จนกระทั่งฝรั่งเศสต้องยอมทำสัญญาคืนดินแดนเขมรส่วนในให้กับไทย รัฐบาลไทยได้จัดตั้งเมืองพระตะบองเป็น "จังหวัดพระตะบอง" และจัดตั้งเมืองเสียมราฐ กับ เมืองศรีโสภณเป็น "จังหวัดพิบูลสงคราม"

 


พ.ศ.2489 หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงโดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เพราะโดนอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ ไทยก็ต้องคืนทั้ง 2 จังหวัดนี้ให้กับฝรั่งเศสไปอีกครั้ง ปัจจุบันดินแดนเขมรส่วนในนั้นได้กลายเป็น "จังหวัดพระตะบอง, จังหวัดไพลิน, จังหวัดบันเตียเมียนเจย, จังหวัดเสียมเรียบ และ จังหวัดอุดรมีชัย ของประเทศกัมพูชา
เมื่อสมัยก่อน บรรพบุรุษกษัตริย์ของสยาม มีคุณูปการขยายพื้นที่อาณาจักรจนกว้างใหญ่ไพศาล มีราษฎรชนเผ่าไทย กระจายอยู่ทั่วในประเทศลาว และเขมร ปัจจุบัน ทำมาหากินกันอย่างสงบสุขบริบูรณ์ ต่อมาฝรั่งเศส มารุกราน ทำให้ดินแดนสยามต้องแตกออกไปเป็นอีก 2 ประเทศ และคนเผ่าไทยเหล่านั้น ก็ต้องจากพี่จากน้อง วงศาคณาญาติ


บรรพบุรุษไทย สู้จนสุดความสามารถ และได้คืนมาเพียง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย , จังหวัดตราด และจันทรบุรี ไม่เช่น พี่น้องใน 3 พิ้นนี้ ก็คงไม่ได้อยู่ร่วมขวานทองแห่งร่วมกันมาจนถึงทุกวันนี้..เป็นหลักฐานว่า “ชาติตะวันตก” รังแกพี่น้องไทยมายาวนานแล้ว จนบัดนี้พวกเขาก็ยังทำอยู่

ขอขอบคุณบทความจาก : https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/317461321777235

Go to top