หลวงปู่หลุย จนฺทสาโรเผชิญพญานาคราชที่ภูบักบิด 

หลวงปู่หลุยเจอพยานาคที่ภูบังบิด หรือภูบ่อบิด กันแน่

หลวงปูหลุยเจอพยานาคที่ภูบังบิด หรือภูบ่อบิด กันแน่

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโรเผชิญพญานาคราชที่ภูบักบิด

ภายในถ้ำมีสมบัติมีค่ามากมายมหาศาลของเทวดา ผู้มีศีลธรรม มีจิตบริสุทธิ์ยิ่งเป็นเครื่องประดับล้ำค่าของโบราณ แก้วแหวนเงินทอง สายสะพายฯลฯ คืนต่อ ๆ มา หลวงปู่หลุยได้เผชิญกับสิ่งลึกลับซึ่งท่านต้องยอมรับว่ามีอยู่จริง นั่นคือ พญานาค !!

“ภูบักบิด” เป็นภูเขาเล็ก ๆ ห่างจากตัวจังหวัดเลยไม่มากนัก เป็นภูเขาซึ่งอยู่เหนือฟากฝั่งของแม่น้ำเลย โดยมีตัวเมืองเลยอยู่ฟากฝั่งตรงกันข้ามหลวงปู่หลุย จันทสาโร (พรรษาที่ ๓๒) ท่านได้เดินทางมาปฏิบัติภาวนาที่ "ภูบักบิด” ชื่อ "ภูบักบิด” นี้มีที่มาของชื่อค่อนข้าพิสดารอยู่ กล่าวคือ บนยอดภูแห่งนี้มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง เป็นถ้ำที่มีความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์ยิ่ง เนื่องจากเป็นอาณาเขตของพวก "บังบด” หรือภุมเทวดาสถิตอยู่(ภาพประกอบจากทาง Internet)ลักษณะของถ้ำบน "ภูบักบิด” นี้ ปากถ้ำค่อนข้างเล็กแคบ แต่เมื่อผ่านปากถ้ำเข้าไปแล้ว ภายในกลับกว้างขวางเวิ้งว้าง ผนังถ้ำเป็นรู เป็นซอกหลืบมากมาย อีกทั้งยังมีโพรงลึกอยู่โพรงหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าเป็นโพรงของพญานาค หากใครนำเอามะพร้าวมาทิ้งลงในโพรงนี้ มะพร้าวจะไปโผล่ที่กุดป่องอย่างน่าอัศจรรย์ ที่เป็นเช่นนี้แสดงว่า ลึกล้ำจากปากโพรงลงไป คงจะมีสายธารน้ำไหลอยู่ใต้แผ่นดิน และสายธรน้ำไหลนี้ ย่อมซอกแซกทอดยาวไปทะลุถึงกุดป่องได้
เมื่อกาลก่อนนั้น... เล่ากันว่า... ภายในถ้ำมีสมบัติมีค่ามากมายมหาศาลของเทวดา ผู้มีศีลธรรม มีจิตบริสุทธิ์ยิ่ง สมบัติดังกล่าวเป็นเครื่องประดับล้ำค่าของโบราณ ประกอบด้วยแก้วแหวนเงินทอง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ สร้อยสายสะพาย ปะวะหล่ำ กำไลแขน กำไลมือ สายสังวาล และเข็มขัดทอง เข็มขัดนาก เครื่องประดับเหล่านี้วางกองอยู่บนแท่นหินในถ้ำนอกจากเครื่องประดับล้ำค่าเหล่านี้แล้ว ยังมีพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปนาก และพระพุทธรูปเงินขนาดต่าง ๆ วางไว้บนชั้นหินหลายระดับ แสดงให้เห็นว่าผู้เป็นเจ้าของสมบัติซึ่งเป็นคนโบราณ เป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับนำทองคำ นาก และเงินมาหล่อเป็นพระพุทธรูปเพื่อกราบไหว้บูชาชาวบ้านที่อยู่เชิงเขา “ภูบักบิด” ในสมัยก่อน มีสิทธิ์ขึ้นไปยืมเครื่องประดับมาแต่งกาย และนำพระพุทธรูปมาเคารพบูชาในงานบุญต่าง ๆ ได้เป็นการชั่วคราว
เมื่อเสร็จงานบุญแล้วก็จะนำเครื่องประดับและพระพุทธรูปไปคืนไว้ในถ้ำตามเดิม ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นวันตรุษ สงกรานต์ วันสารท หรือวันที่มีงานบุญ งานมงคลต่าง ๆ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานโกนจุก และงานแต่งงาน
ชาวบ้านทั้งหญิงและชายจะมีเครื่องประดับของมีค่าใส่กันแพรวพราวเวลาจะเข้าไปเอาเครื่องประดับในถ้ำศักดิ์สิทธิ์บนภูบักบิดนี้ มีกฎอยู่ ๒ ประการคือข้อแรก ผู้ที่จะเข้าไปเอาต้องถอดเสื้อผ้าออกให้หมด แล้วเดินตัวเปล่า ๆ เข้าไป เหตุที่ต้องทำเช่นนั้น คงถือเอาความบริสุทธิ์ของใจเป็นสำคัญ คือจะไม่เอาเครื่องประดับชิ้นหนึ่งชิ้นใดซุกซ่อนไว้ในเสื้อผ้าที่ใส่ กฎข้อนี้ต้องกระทำเหมือนกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหญิง ชาย เด็ก หรือคนแก่ข้อต่อมา คือ ให้หยิบเครื่องประดับไปได้แค่หนึ่งกำมือเท่านั้น
จะเอามากไปกว่านี้ไม่ได้ผู้คนในสมัยก่อนเป็นคนมีศีลมีธรรมประจำใจ ไม่มีความละโมบโลภมาก เมื่อหยิบยืมเครื่องประดับไปใช้สมประสงค์แล้วก็จะรีบนำมาคืนไว้ที่เดิม เพราะถือว่าเป็นของกลาง ไม่ใช่สมบัติของตนหรือของใครทั้งสิ้น

หลวงปู่หลุยเจอพยานาคที่ภูบังบิด หรือภูบ่อบิด กันแน่

ต่อมาได้เกิดเหตุร้ายแรงภายในถ้ำแห่งนี้นั่นคือ วันหนึ่งได้มีหญิงชาวบ้านจะเข้าไปยืมสมบัติของมีค่ามาแต่งตัว และมีเณรน้อยรูปหนึ่งเดินตามหลังหญิงนั้นเข้าไป เณรน้อยได้กระทำผิดด้วยเจตนาหยอกเอินหญิงนั้น คือเอื้อมมือไปบิดก้นของหญิงที่เดินนำหน้า การกระทำเช่นนี้เท่ากับผิดศีล เพราะมีเจตนาจับต้องเนื้อตัวสตรีเพศ ทั้งยังแสดงกิริยาหยาบคาย ไม่สำรวมตน เหมือนไม่เคารพสถานที่อันควรเคารพ ทันใดนั้น ! เพดานถ้ำบริเวณไว้สมบัติได้ถล่มโครมครืนลงมาปิดทางเข้าทั้งหมด !!!

เณรน้อยผู้ทำศีลวิบัติหนีเตลิด จนพลัดตกลงไปในปล่องโพรงพญานาคแล้วไปโผล่ที่กุดป่อง การมีชีวิตรอดออกมาได้ เพียงเพื่อจะบอกเล่าถึงสาเหตุที่ถ้ำเก็บสมบัติถล่มปิดทางเข้าออกเท่านั้น เพราะต่อมาเณรน้อยก็กลายเป็นคนสติฟั่นเฟือน จริตเลอะเลือน พล่ามเพ้อถึงกรรมเลวของตน ตราบกระทั่งตายไปอย่างน่าสลดสังเวช

หลวงปู่หลุยเจอพยานาคที่ภูบังบิด หรือภูบ่อบิด กันแน่

หลวงปู่หลุย สมัยเป็นเด็ก ๆ ท่านก็เคยขึ้นไปยัง "ภูบักบิด” และเข้าไปที่ถ้ำนี้ ท่านยังได้เห็นค้อนเภรีโบราณขนาดเขื่อง ตั้งเรียงรายอยู่ และมีพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงินองค์เล็ก ๆ ตั้งอยู่บนแท่นหินในหลืบถ้ำ พระพุทธรูปดังกล่าวมิใช่หล่อด้วยทองคำหรือเงินทั้งองค์ หากเป็นแผ่นทองและแผ่นเงินห่อหุ้มองค์พระพุทธรูปเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปั้นดินเผาบรรจุไว้ในไหจนเต็มหลายต่อหลายใบ แต่ไม่มีผู้ใดนำไปเคารพบูชา

ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หลวงปู่หลุยท่านจำพรรษาอยู่ที่บ้านกกกอก ซึ่งเป็นพื้นที่เชิงเขา ครั้นออกพรรษาแล้ว ท่านต้องการเปลี่ยนสถานที่บำเพ็ญเพียร จึงได้มุ่งหน้ามายัง “ภูบักบิด” เนื่องจากบนภูบักบิดเป็นป่าเขาอุดมสมบูรณ์ ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า สภาพธรรมชาติ จึงสงบวิเวก เป็นสัปปายะสำหรับพระธุดงคกรรมฐาน การขึ้นไปยังถ้ำบนภูบักบิดนี้ จะต้องไต่เขาขึ้นไปเป็นระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร และทางขึ้นก็ยากลำบากไม่น้อย เนื่องจากต้องป่ายปีนผ่านก้อนหินตะปุ่มตะป่ำแหลมคม ซ้ำยังมีพงรก เถาวัลย์ กอหนาม กอหวายขวางทางไปตลอด แต่เมื่อขึ้นไปถึงถ้ำแล้ว กลับเป็นสถานที่อันเหมาะสมในการภาวนาอย่างยิ่ง ถ้ำที่หลวงปู่หลุบบุกป่าฝ่าเขาขึ้นไปบำเพ็ญเพียรภาวนานี้ ปากถ้ำออกจะเล็กแคบ แต่ภายในกว้างขวางร่มรื่น บรรยากาศสงัดเงียบเป็นที่พอใจของหลวงปู่หลุยอย่างยิ่งวัน เวลา ที่หลวงปู่หลุยขึ้นไปบำเพ็ญภาวนาบน "ภูบักบิด" เป็นเดือนธันวาคม อากาศบนภูหนาวเหน็บเย็นเยือก เวลากลางคืนมาถึงเร็ว เพียงแค่ล่วงพ้นยามเย็น ความมืดแห่งรัตติกาลก็ครอบคลุมลงมาทั่วทุกอณูบนภูสูง อันเปล่าเปลี่ยว คืนแรก... หลวงปู่หลุยนั่งภาวนาบนแท่นหินหน้าถ้ำ จิตรวมนิ่งสนิทอย่างรวดเร็ว แต่แล้ว ...ปรากฏการณ์ซึ่งหลวงปู่ไม่เคยคาดคิดก็พลันอุบัติขึ้น นั่นคือมีมือใหญ่มหึมา ขนยาวรุงรังยื่นออกมานอกถ้ำ มือนั้นชูร่อนไปมาหลวงปู่หลับตาก็มองเห็น ลืมตาก็มองเห็น...ท่านจึงกำหนดจิตถามไปว่า เจ้าของมือซึ่งชูร่อนเสมือนจะวิงวอนร้องขอสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ปรารถนาอะไร...แล้วหลวงปู่หลุยก็ทราบว่า เป็นเปรตที่อยู่ในภาวะแห่งความทุกข์ทรมานมานาแสนนาน เปรตตนนั้นมาขอส่วนบุญ หลวงปู่จึงแผ่เมตตาให้... นับแต่นั้น เปรตก็หายไปไม่มารบกวนท่านอีก หลวงปู่หลุยเล่าว่า ทันทีที่รู้สึกว่าพญานาคมารัดตัว ท่านตั้งสติไม่ทัน ทำให้ตกใจ...หลวกปู่บอกว่า "หนักอึ่กซึ่ก...” หนักอึ่กซึ่ก หมายถึง อึดอัดมากอันที่จริงหลวงปู่หลุยเคยมีประสบการณ์เรื่องพญานาคมาเหมือนกัน แต่ไม่เคยพบถึงขั้นเข้ามารัดตัวท่าน จึงทำให้ท่านอดสะดุ้งหวั่นไหวไม่ได้ แต่เมื่อตั้งสติได้ ก็กำหนดจิต เอา "พุทโธ” เป่าเข้าไป ขดลำตัวพญานาคซึ่งรัดตัวท่านก็คลายออกอย่างรวดเร็ว กระทั่งหายวับไป

ถ้ำบังบดภูบักบิดจ. เลย

หลวงปู่หลุยเจอพยานาคที่ภูบังบิด หรือภูบ่อบิด กันแน่

แม้หลวงปู่หลุยจะเผชิญกับความน่ากลัวของพญานาคถึงปานนี้ ท่านก็ไม่ได้พรั่นพรึง ไม่ยอมหนีไปจากถ้ำภูบักบิด คงบำเพ็ญภาวนาต่อไปด้วยความมั่นคงแน่วแน่ พร้อมกันนั้นก็ได้แผ่เมตตาไปให้พญานาคตนนั้นไม่มีประมาณ ตราบจนจิตของพญานาคอ่อนลง ยอมรับนับถือท่านและกลายเป็นมิตรที่ดีของหลวงปู่ ภายหลังหลวงปู่มักจะพาพระเล็กเณรน้อยไปบำเพ็ญเพียรที่ภูบักบิด และก็ได้พญานาคเป็นผู้ช่วยทรมานทดสอบความมั่นคงของจิตใจพระเณรเหล่านั้นอย่างได้ผล การทดสอบของพญานาค หลวงปู่หลุยท่านไม่ได้เล่าเอาไว้ แต่น่าเชื่อว่า พญานาคผู้ทรงฤทธิ์ในการแปลงกายและสามารถเนรมิตสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ได้ คงจะกระทำให้พระเณรเกรงกลัว จิตไม่กล้าส่งออกนอก จิตแนบแน่นอยู่กับการภาวนาจนรวมเป็นสมาธิได้อย่างรวดเร็ว การกระทำความเพียรที่ภูบักบิดนี้ หลวงปู่หลุยได้บันทึกเอาไว้ว่า...“ถ้ำภูบักบิด เป็นสถานที่ทำความเพียร ไม่เบื่อ จิตไม่คุ้นเคยในสถาน เกรงกลัวในสถานเสมอ นำมาซึ่งความเจริญ นิมิตไม่ร้าย เมตตาจิตเสมอภาค ไม่มีอคติ แผ่เมตตาจิตเยือกเย็นดี ถ้ำนี้ปรุโปร่งทั่ว ธันวาคม พ.ศ. ๙๙ ถ้ำนี้ได้พิจารณาตาย ตายที่สงัดดี เป็นหนทางพระอริยเจ้า ตายคนเดียว ตายด้วยกิเลส คือตายด้วยหมู่ไม่ดี”พิจารณาแห่งเดียวรู้ทั่ว ภาวนาได้ทะลุทั้งตัว ภาวนาลมหายใจทุกเส้นขน เทพ อมนุษย์ นาค ในที่นี้ชอบใจมาก แผ่เมตตาจิตนั้นชอบนัก มีเมตตาเสมอภาคต่อบุคคลทั้งปวง จิตสูง มีอำนาจมาก ความรู้เลื่อนจากฐานะเดิมสู่ที่สูงมาก ประหวัดถึงกึ่งพุทธกาลเสมอ มีปาฏิหาริย์ดีกว่าถ้ำอื่น ๆ ... จิตอุ้มหนุน เอื้อเรื่อย ๆ อยู่ถ้ำนี้ไปนาน ๆ จะมีความรู้ใหญ่โต จิตประหวัดคิดถึงกามไม่มี เหมือนที่ถ้ำผาปู่ นิมิตความฝันเป็นมงคล”

หลวงปู่หลุยเจอพยานาคที่ภูบังบิด หรือภูบ่อบิด กันแน่

พญานาคที่ถ้ำแก้งยาว
ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ... หลวงปู่หลุย จันทสาโร จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำแก้งยาว อยู่บนภูเขาซึ่งเป็นเขตของวัดป่าถ้ำแก้งยาว
ภูเขาที่ถ้ำแก้งยาวนี้ เชิงเขาทอดลงมาบรรจบติดกับทุ่งนา เป็นภูเขาไม่สูงนัก แต่ป่าที่ปกคลุมเขาอุดมสมบูรณ์ และสงบวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรอย่างยิ่ง
ถ้ำบนภูแก้งยาวไม่ใหญ่โตกว้างขวางนัก ทำแคร่เล็ก ๆ พอนั่งภาวนา กางกลดมุ้งได้ แต่หลวงปู่หลุยสรรเสริญถ้ำแก้งยาวมาก ท่านว่าเทพมาก มีพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาอนุโมทนาการกระทำความเพียรของท่านด้วย
หลวงปู่หลุยท่านมักเปลี่ยนที่ภาวนา หากเห็นก้อนหินเหมาะ เห็นร่มไม้ใหญ่ดี ท่านจะใช้ผ้าอาบปัด ๆ หินก้อนนั้น หรือพื้นที่ตรงนั้นให้สะอาด และท่านก็นั่งลงทำความเพียรทันที บางคราวหลวงปู่หลุยเห็นต้นไม้ใหญ่ล้มทอดไปตามพื้นดิน ท่านก็จะขึ้นไปเดินจงกรมบนขอนไม้ล้มนั้น ทำให้มีสติระมัดระวังดี มิฉะนั้นจะตกลงมาจากขอนไม้ล้ม
วันหนึ่ง... หลวงปู่หลุยออกจากถ้ำไปวิเวกที่ร่มไม้ในป่า เมื่อสมควรแก่เวลาท่านก็กลับเข้ามาที่ถ้ำ ได้เห็นงูใหญ่ตัวหนึ่ง ขดอยู่ใต้แคร่ ซุกหัวอยู่ในขนดนิ่งเฉย ไม่ได้ส่อแสดงกิริยาดุร้ายใด ๆ ออกมา
หลวงปู่คิดว่า ท่านอาจตั้งแคร่ปิดปากรูทางเข้าออกของงูยักษ์นี้ก็ได้ แต่เมื่อพิจารณาดูอย่างละเอียดแล้ว ไม่เห็นปากรูหรือปากโพรงใด ๆ ผนังราบเรียบสนิท ไม่ปรากฏหลืบหินอันอาจอำพรางช่องทางใด ๆ ไว้
เมื่อเป็นเช่นนี้ หลวงปู่หลุยจึงคาดเดาเอาว่า ก่อนหน้าที่ท่านจะกลับเข้ามาในถ้ำ งูใหญ่คงเลื้อยผ่านปากถ้ำอันเย็นและสงบสงัด จึงเข้ามาพักผ่อนนอนเล่นดังที่เห็นอยู่ หลวงปู่คิดว่าเมื่อเขารู้แล้วว่าท่านเข้ามา เขาก็คงจะกลับออกไปสู่ถิ่นที่อยู่เดิม ท่านจึงออกจากถ้ำไปทำกิจส่วนองค์เบื้องนอก เดินจงกรมอยู่นานพอสมควรก็กลับมายังถ้ำ
ขณะนั้น...เป็นเวลาพลบค่ำแล้ว แทนที่งูใหญ่จะเคลื่อนย้ายออกไป กลับนอนขดอยู่ใต้แคร่เช่นเดิม ส่วนหัวที่ซุกหลบในตอนแรก ตอนนี้ยกมาพาดวางบนลำตัวมหึมา หลวงปู่หลุยมีความรู้สึกชักจะคุ้นกับงูตัวนี้ จึงเข้าไปดูใกล้ ๆ เห็นนัยน์ตาของเขาจ้อมองกลับมานิ่งเฉย ในขณะที่นัยน์ตาของหลวงปู่หลุยเต็มเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา
เมื่องูใหญ่ไม่ยอมขยับเขยื้อนเคลื่อนย้ายไปจากใต้แคร่ หลวงปู่ท่านก็วางเฉยเสีย คิดว่าต่างฝ่ายต่างอยู่ ต่างฝ่ายย่อมใช้ชีวิตตามเพศตามชาติของตน ไม่ขัดเคืองขัดขวางกัน มีแต่เมตตาต่อกัน
ในค่ำคืนนั้น... หลวงปู่หลุยกางมุ้งนอนกลดบนแคร่ของท่านตามปกติ ไหว้พระสวดมนต์ นั่งทำความเพียรตามวัตรปฏิบัติเป็นปกติ โดยมีงูตัวมหึมานอขดอยู่ใต้แคร่เงียบเชียบ
ตอนเช้า...ตี ๓ ...หลวงปู่จะลุกขึ้นล้างหน้า สวดมนต์ภาวนา แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ งูใหญ่ที่ขดอยู่ใต้แคร่ก็ย่อมได้รับกระแสธรรมจากหลวงปู่โดยตรงยิ่งกว่าผู้ใด
น่าแปลกอย่างยิ่งที่งูใหญ่ตัวนั้นขดตัวนิ่งอยู่ใต้แคร่ของหลวงปู่หลุยถึง ๓ วัน ๓ คืน ประหนึ่งมาขอรับบารมีอันชุ่มเย็นจากหลวงปู่หลุยโดยตรง ซึ่งท่านก็แผ่เมตตาให้ด้วยความการุณย์
อยู่ครบ ๓ วันแล้ว งูใหญ่จึงได้จากไปในขณะที่ท่านออกไปวิเวกนอกถ้ำ เวลาเลื้อยออกไปท่านไม่เห็น แต่เห็นรอยที่ผ่านไป ปรากฏว่าต้นไม้ใบหญ้าราบเป็นทางยาวตั้งแต่ปากถ้ำไปจนถึงเชิงเขาซึ่งเป็นชายทุ่ง
หลวงปู่หลุย จันทสาโร

หลวงปู่หลุยเจอพยานาคที่ภูบังบิด หรือภูบ่อบิด กันแน่

ขณะนั้นนาข้าวกำลังขึ้นเขียวขจี รอยงูที่เลื้อยผ่านทุ่งนาเป็นช่องโล่ง แลลิบลิ่วไปไกลสุดสายตา แสดงว่าเป็นงูยักษ์ตัวมหึมาอย่างน่ากลัว เพราะต้นข้าวที่เขาปักดำเป็นแถวเป็นกอห่าง ๆ กันนั้น ถูกลำตัวงูทับราบไปถึง ๓ กอ ๓ แถว เป็นทางโล่งไปตลอด !! ทั้งนี้ หลวงปู่หลุยเล่าว่า ขณะที่งูใหญ่เข้ามานอนขดอยู่ใต้แคร่ของท่าน มองดูก็ใช่ว่าจะใหญ่โตเท่าใดนัก แต่ร่องรอยซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานตั้งแต่ปากถ้ำไปจนถึงชายทุ่ง แล้วเลื้อยฝ่าท้องทุ่งกว้างใหญ่หายเข้าไปในป่าเขาลำเนาไพรอีกฟากหนึ่ง เป็นรอยพญางูตัวมหึมา ยากที่จะมีผู้ใดพบเห็นมาก่อน !! มีผู้ถามหลวงปู่หลุยว่า ชะรอยจะเห็นพญานาค การที่เขามาขดอยู่ใต้แคร่ของหลวงปู่โดยมีขนาดลำตัวไม่ใหญ่โตนักนั้น คงเนื่องจากการนิรมิตด้วยฤทธิ์ให้ตัวเล็กลง เพราะยังมีเณรน้อยไปคอยปรนนิบัติอุปัฏฐากท่านอยู่ด้วย พญานาคจึงไม่ต้องการให้เณรเกิดความตื่นตระหนกหวาดกลัว หลวงปู่หลุยไม่ตอบ หากท่านยิ้ม ๆ เท่านั้นแล้วท่านก็พูดเลี่ยง ๆ ไปว่า เวลาพญานาคออกไป เขาส่งเสียงดัง “อี๊...อึ่ด...อึ่ด...” มีคนได้ยินหลายคน แต่ไม่มีใครคิดว่าเป็นเสียงพญานาค นี่คือความอัศจรรย์เกี่ยวกับพญานาคที่หลวงปู่หลุย จันทสาโร เคยเผชิญมา ซึ่งมีผู้คนมากมายทั้ง ๆ ที่เป็นชาวพุทธศาสนิกชนไม่เชื่อว่าพญานาคมีจริง ๆ คิดว่าเป็นเรื่องเล่าขานให้เกิดความสนุกสนาน หรือเป็นแค่นิทานชาดก แต่...โปรดคิดกันสักนิดว่า หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นพระผู้บำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ไม่ยอมด่างพร้อยในพระธรรมวินัยเด็ดขาด ดังนั้น...เรื่องพญานาคที่ท่านกล่าวถึงจะเป็นเรื่องเลื่อนลอยได้อย่างไร..?

 

 

ขอขอบคุณบทความจาก : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=angelonia17&month=30-08-2016&group=68&gblog=33

Go to top