เลยเป็นจังหวัดในภาคอีสานตอนบน มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมาย แต่วันนี้ เราจะไม่เน้นแหล่งท่องเที่ยวของเมืองเลย แต่จะพาไปค้นพบ 9 เรื่องน่ารู้ ที่เชื่อได้ว่าหลายคน รวมทั้งคนเมืองเลยเอง ยังไม่เคยรู้มาก่อน

 9story

1. ทำไมจึงเรียกว่า “เลย” บางคนเคยเอาไปแซวเป็นมุกตลก ทว่า ชื่อนี้ถูกเรียกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 ย้อนไปในสมัย ร. 5 มีการปฏิรูปการปกครองทั่วประเทศ จึงทรงให้เรียกชื่อเมืองตามชื่อแม่น้ำที่ตั้งของเมือง ซึ่งเมืองเลยตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย จึงได้ชื่อนี้มาตั้งแต่บัดนั้น

2. ชาวเลยมีสำเนียงพูดที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนชาวอีสานในจังหวัดอื่น ชาวเลยมีสำเนียงคล้ายกับชาวหลวงพระบาง คือมีสำเนียงอีสานผสมกับสำเนียงชาวเหนือ

3. เป็นแดนซากูระ เนื่องจากในช่วง ม.ค. – ก.พ. ของทุกปี ต้นนางพญาเสือโคร่งแห่ง ภูลมโล อ. ด่านซ้าย จะออกดอกสพรั่งคล้ายดอกซากูระของญี่ปุ่น ทั้งนี้เมืองเลย มีดงนางพญาเสือโคร่งที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีต้นนางพญาเสือโคร่งกว่าแสนต้น กินพื้นที่เกือบ 1,200 ไร่

4. มีจุดชมแม่น้ำโขงที่สวยที่สุด อยู่ที่ อ. ปากชม – อ. เชียงคาน โดยเฉพาะในฤดูแล้ง จะเห็นพระอาทิตย์ตกริมฝั่งโขง สวยงามมาก

5. เป็นต้นกำเนิดของคำว่า “แม่คะนิ้ง” เนื่องจากในฤดูหนาว เมืองเลยเคยมีอุณหภูมิต่ำสุดถึง -3oC ที่ อ. ภูเรือ ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำค้างแข็ง ที่ชาวบ้านเรียกว่าแม่คะนิ้ง

6. เมืองเลยกำเนิดขึ้นมาในยุคไดโนเสาร์ มีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์อย่างน้อย 2 รอยในเมืองเลย คือที่ภูหลวงและภูลมโล

7. ชาวเลยใช้ผักสะทอนแทนปลาร้าในการทำอาหาร น้ำสะทอนมีกลิ่นคล้ายซีอิ๊ว เป็นที่นิยมมากใน อ. ด่านซ้ายและอ. นาแห้ว โดยใช้ปรุงอาหารประเภท ส้มตำ แจ่ว และแกงเกือบทุกชนิด

8. ห้ามใส่สีแดงไปไหว้พระธาตุศรีสองรัก เนื่องจากเป็นความเชื่อว่าสีแดงเป็นสีแห่งเลือดและการฆ่าฟัน

9. ต้นกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน เนื่องจากภัยคอมมิวนิสต์ สมัยนั้นรัฐบาลมีนโยบายดึงชาวบ้านมาเป็นหูเป็นตา จึงก่อตั้งลูกสือชาวบ้านขึ้นครั้งแรก ในพื้นที่เสี่ยง คือ อ. นาแห้ว ต. แสงกา หมู่บ้านเหล่ากอหก

พออ่านจบ หลายคนคงอุทานว่า “เพิ่งรู้นะเนี่ย” กันเป็นแถว

Go to top