แอดมินเอ๊าเลยก็นั่งอ่านอะไรเรื่อยเปื่อยจนมาเจอกระทู้นี้ "เหตุการณ์อุบัติเหตุที่คนไทยต้องสะพรึง" ซึ่งน่าจะเป็นบทเรียนที่สำคัญและทุกคนควรจำไว้ว่ามันเกิดมาแล้ว และเราควรจะหาทางป้องกันมันอย่างไร
ตัวกระทู้อยู่ที่ https://pantip.com/topic/38341279?fbclid=IwAR33ipUJm7eqU8F7OrX2rMH8DxueAA9IRCPogycua1REyt3463V9SqrDw0E และทางเว็บเราก็ขอนำมาประมวลเรียบเรียกอีกทีนึง ตามนี้จ้า
โป๊ะล่ม ท่าพรานนก ปี 2538
หากจะพูดถึงเหตุสะเทือนใจที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า 20 ปีก่อน เหตุการณ์ "โป๊ะล่ม" เมื่อปี 2538 ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ไม่ว่าใครได้เห็นภาพแล้ว ก็ต้องรู้สึกสะเทือนใจ เนื่องจากภาพข่าวในตอนนั้น เห็นภาพเด็กนักเรียนหญิงหลายคนจมแม่น้ำเจ้าพระยา และเมื่อเจ้าหน้าที่ช่วยนำร่างขึ้นมา ยังพบว่าร่างสะพายกระเป๋าใบโตอยู่ด้านหลัง
อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.thairath.co.th/news/local/482310
รถไฟพุ่งเข้าชนสถานีหัวลำโพง ปี 2529
เหตุการณ์หัวรถจักรพุ่งชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529[1] เวลาประมาณ 08.50 น. เมื่อขบวนรถไฟประกอบด้วยหัวรถจักรจำนวน 6 คันพ่วงติดกัน ซึ่งได้แก่หมายเลข 4029, 4042, 4044, 4010, 4006, 4043 กำลังซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงเก็บหัวรถจักร สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ พนักงานขับรถไฟได้ติดเครื่องยนต์และลงจากรถโดยไม่ดับเครื่อง และทำท่าคันกลับอาการ (เกียร์ของรถไฟ) ไว้ที่ตำแหน่งเดินหน้า โดยล็อกคันเร่งไว้ที่สูงสุด เนื่องจากรถไฟใช้ระบบลมดูด เมื่อติดเครื่องยนต์ไว้สักครู่ ลมจะหมุนเวียนครบวงจร รถไฟจึงวิ่งเข้าสู่รางประธาน รถไฟวิ่งไปตามเส้นทาง ผ่านทางแยกตัดกับถนนพระรามที่ 6, ถนนประดิพัทธ์ ผ่านสถานีรถไฟสามเสน, ถนนนครไชยศรี, ถนนราชวิถี, ถนนศรีอยุธยา และถนนเพชรบุรี เป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ด้วยความเร็วประมาณ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยไม่มีพนักงานขับรถแต่อย่างใด
ไม่กี่นาทีต่อมา เสียงรถจักรจีอีทั้ง 6 คันก็ดังขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดมเป่านกหวีดดังลั่น รถจักรทั้ง 6 คันพุ่งเข้าปะทะแผงกั้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แล้วทะลุเลยเข้าไปในชานชาลาสถานี ชนป้ายตารางเวลาเดินรถ ร้านค้า และเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์โดยพุ่งเลยไปเกือบถึงหน้าถนน ขณะที่มีผู้โดยสารจำนวนมากอยู่ในสถานี ก่อนเกิดเหตุ ทางสถานีได้ออกประกาศเตือนผู้โดยสารแล้ว แต่เนื่องจากความบกพร่องของระบบกระจายเสียง ทำให้เกิดเสียงก้องกังวานและผู้โดยสารจำนวนมากไม่ทราบการแจ้งเตือนล่วงหน้า
เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการเรียกขานจากสื่อมวลชนว่าเป็น รถไฟผีสิง เนื่องจากหัวรถจักรตัวเปล่า โดยไม่มีคนขับเกิดวิ่งได้เองจนชนชานชาลาสถานีกรุงเทพ นับเป็นความผิดปกติอย่างมาก บางกระแสก็กล่าวเกินเลยไปถึงขนาดตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการวินาศกรรมหรือไม่ เป็นต้น
เหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ
เหตุเพลิงไหม้ซานติก้าผับ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 มีผู้เสียชีวิต 61 คน (สื่อมวลชนไทยรายงานว่าเสียชีวิต 67 คน) และบาดเจ็บอย่างน้อย 225 คนในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 45 ราย (สื่อมวลชนไทยรายงานว่า 222 คนที่บาดเจ็บ) เหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นหลังช่วงจัดงานปีใหม่ เวลา 00.35 น. ชาวต่างชาติจากประเทศออสเตรเลีย เบลเยียม ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น เนปาล เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ได้รับบาดเจ็บในเหตุนี้ด้วย
เหตุการณ์รถแก๊ประเบิดที่บ้านทุ่งมะพร้าว
จังหวัดพังงาถูกกล่าวขานและรายงานในวงการสื่อสารมวลชนว่าเป็น อุทาหรณ์ไทยมุง
โศกนาฏกรรมในครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตมากติด 1 ใน 5 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว มีผู้เสียชีวิตตามที่ระบุไว้คือ 207 ศพ หลายศพที่พบเหลือเพียงเศษเสื้อและเข็มขัดหนังที่พอจะระบุตัวตนได้ว่าเป็นใครเท่านั้น แม้แต่ร่างก็ไม่เหลือไว้ให้ประกอบฌาปนกิจตามหลักศาสนา บางครอบครัวเสียชีวิตจนไม่มีลูกหลานให้สืบวงศ์ตระกูล บางครอบครัวก็เสียชีวิตทั้งหมด และผลร้ายแรงที่ปรากฏต่อมา ชาวบ้านที่นี่ถูกทาบทาตราบาปจนถึงทุกวันนี้
โศกนาฏกรรมนี้เต็มไปด้วยเงื่อนงำมากมาย เช่น รถบรรทุกสินค้ามาพลิกคว่ำบริเวณทางโค้งท่ามกลางชุมชน ที่รายล้อมไปด้วยวัด โรงเรียน สถานีอนามัยประจำตำบลได้อย่างไร?? เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นอุบัติเหตุจริงหรือไม่?? เป็นไปได้อย่างไรที่ชาวบ้านบริเวณนั้นไม่ทราบว่า รถพ่วงคันดังกล่าวบรรทุกวัตถุอันตราย??
ทำไมชาวบ้านบริเวณนั้นจึงไม่ได้เดินให้ออกห่างจากที่เกิดเหตุ เกิดอะไรขึ้นในช่วง 5-10 นาทีสุดท้าย ก่อนที่แก๊ปจะระเบิดคำตอบนี้จะเป็นกุญแจสำคัญที่ว่า แก๊ประเบิดได้อย่างไร และนี่จะเป็นคำตอบไปสู่เหตุผลสำคัญที่ว่า โศกนาฏกรรมในครั้งนี้ไม่ใช่อุทาหรณ์ไทยมุงแต่อย่างใด
รอยัลพลาซ่า ตึกถล่มที่โคราช
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่โรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่ม กลายเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์โศกนาฏกรรมของประเทศ และยังเป็นที่จดจำของชาวโคราชมาถึงทุกวันนี้ อาคารโรงแรมในอดีตที่อยู่ระหว่างถนนจอมสุรางค์และถนนโพธิ์กลาง สามารถเข้า-ออกได้ 2 ทาง กลางเมืองโคราช เกิดพังถล่มลงมา เมื่อเวลา 10.12 น.
ในขณะเกิดเหตุนั้น ภายในโรงแรมมีการเปิดอบรมสัมมนาอยู่ มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 400 คน ประกอบไปด้วยกลุ่มข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ 47 คน ที่เหลือเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไปที่พักอยู่ในโรงแรมและพนักงานโรงแรม
เจ้าหน้าที่กู้ภัยจากหลายหน่วยงาน ร่วมค้นหาผู้รอดชีวิตภายใต้ซากตึกโรงแรมรอยัลพลาซ่าที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เจ้าหน้าที่ต้องคลานเข้าไปใต้ซากอาคารที่อาจถล่มซ้ำลงมาได้ทุกเมื่อ ซึ่งการระดมความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับสาเหตุของตึกโรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่มนั้น เกิดจากการก่อสร้างต่อเติมจากสถานบันเทิงเก่า จากอาคาร 3 ชั้น เป็นโรงแรม 6 ชั้น โดยมีห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ไม่เป็นตามหลัก พรบ.ควบคุมอาคาร ทำให้เสาคานรองรับน้ำหนักตัวอาคารไม่ไหว
อีกทั้งโครงสร้างเสายังไม่ได้เชื่อมยึดติดกัน เมื่อเสาที่ตั้งอยู่บนคานแบกรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้คานหลุดออกจากหัวเสาที่ชั้น 2 โครงสร้างอาคารบนหัวเสาจึงยุบตามลงมา และส่งแรงดึงรั้งกระทบเสาต้นข้างเคียงให้หักล้มตามกันในที่สุด กลายเป็นเหตุการณ์ภาพตึกถล่มลงมาเป็นเวลาเดียวกันที่ นายวิทยา วงศ์วัชรกาญจน์ ผู้จัดการทั่วไปโรงแรม ได้เดินทางมาถึงโรงแรมพอดี พร้อมกับเห็นภาพอาคารถล่มลงมาต่อหน้าต่อตา
เหตุการณ์อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าโคราชถล่ม กลายเป็นข่าวดังในยุคนั้น สื่อไทยและต่างชาตินำเสนอข่าวนี้ตลอดทั้งเดือน เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีคนเสียชีวิตและยังติดอยูในซากตึกจำนวนมาก
ทุกวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี ครอบครัวและญาติของผู้เสียชีวิต นำโดย นายชวลิต ตันฑเศรณีวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ที่สูญเสียขาทั้งสองข้างจากตึกถล่ม จะมาทำบุญและอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เคราะห์ร้ายเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการส่งวิญญาณผู้เสียชีวิตที่ล่วงลับให้ไปสู่สุคติ และเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
ขณะที่การดำเนินคดีได้สิ้นสุดคดีเมื่อปลายปี 2543 โดยศาลฎีกาพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต นายบำเพ็ญ พันธ์รัตนอิสระ วิศวกรควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ส่วนผู้บริหารโรงแรมทั้งหมดพิพากษายกฟ้อง ด้วยเหตุผลจากคำพิพากษา เพราะผู้บริหารโรงแรมไม่มีความรู้เรื่องโครงสร้าง โดยได้ว่าจ้างวิศวกรคือนายบำเพ็ญ ซึ่งมีความรู้มารับผิดชอบในการต่อเติมอาคารโรงแรม ดังนั้นผู้บริหารจึงไม่มีความผิด ศาลจึงพิพากษายกฟ้องจำเลยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ในส่วนคดีแพ่งนั้นการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่เสียชีวิต ศาลได้พิพากษาให้ บริษัท รอยัลพลาซ่าโฮเตล จำกัด ชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมด ทางโรงแรมได้ชดใช้เงินให้กับผู้เสียชีวิตรวม 5 ล้านบาท และเงินที่รับบริจาคอีก 5 แสนบาท เฉลี่ยแล้วผู้เสียชีวิต ญาติได้รับเงินรายละ 80,000 บาท และผู้พิการได้รับรายละ 50,000 บาท