l "บนความสูงเทียบเท่าตึก 10 ชั้น และข้างล่างมีแต่พื้นซีเมนต์เปล่า การแสดงชุดนี้แลกมาด้วยชีวิตครับ..."

 เสียง ของน้าเน็ก เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา พิธีกรรายการ "ไทยแลนด์′ส ก็อตทาเลนท์ ซีซั่น 2" พูดขึ้นหลังจากการแสดง Aerial Acrobat หรือ กายกรรมผืนผ้า ของ เล้ง-ราชนิกร แก้วดี จบลง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  {youtube}do5LBto-uts{/youtube}

 

 

กายกรรมผืนผ้า ของเขา ประสานไปด้วยดนตรีแบบโอเปร่า, เรื่องราวลิลิตพระลอ, ความอ่อนช้อยของท่าเต้น และความแข็งแกร่งของการเล่นกายกรรมบนผ้า เป็นความขัดแย้งที่ดูกลมกลืนจนเรียกได้ว่า การแสดงนี้สมบูรณ์แบบมากๆ จนไม่น่าแปลกใจว่า รายการประกวดพรสวรรค์ในซีซั่นนี้ หนุ่มชาวสกลนครวัย 28 ปี ผู้นี้ คือ "ผู้ชนะ" ครองใจมหาชนอย่างไร้ข้อกังขาให้ดราม่ากันหลังเวที

v

"การแสดงชุดนี้แลกมาด้วยชีวิต" ในความหมายหนึ่งของพิธีกรผู้มากความสามารถพูดคือ มันหมายถึง หากพลาด อาจจะประสบกับอันตราย

แต่ ในอีกความหมายหนึ่ง มันหมายถึง ก่อนที่จะเป็นโชว์เพียงไม่กี่นาที เล้ง-ราชนิกร ได้เคี่ยวกรำ "ชีวิต" ของตัวเอง ในการถักทอมาสเตอร์พีซชิ้นนี้ ให้ "โดนใจ" คนหมู่มาก ซึ่งไม่ง่ายเลย...

จาก เด็กน้อย ผู้มีชีวิตอยู่กับท้องไร่ท้องนา เป็นเด็กคลุกคลีกับวัด โชคชะตานำพาเขาไปรู้จักกับโรงละครภัทราวดีเธียเตอร์ ทำงานทุกอย่างจนครูเล็ก-ภัทราวดี เห็นแวว จนในที่สุดแนะให้เรียนด้านนาฏศิลป์ แล้วต่อยอดมาสู่ กายกรรมผืนผ้า

"ผม ซ้อมกลางทุ่งนาวันละ 8 ชั่วโมงครับ ก็ซ้อมจนมือบวม จะไปสอบก็เอามือแช่น้ำแข็ง เพื่อจับปากกาเขียนข้อสอบ ตอนที่เรียน ตอนเรียนที่ภัทราวดีเธียเตอร์ ครูก็จะดู จะดุตลอดเวลา โดนว่า โดนดุทุกอาทิตย์ทุกวัน แต่ก็ไม่หยุดครับ เพราะสิ่งที่ครูบ่นครูว่า คือ ครูให้โอกาสเรา ครูเห็นจุดด้อยของเรา ก็เอาสิ่งที่ครูว่าครูบ่น มาทำให้เป็นจริงอย่างที่ครูพูด"

  คำครูดุ อาจจะเป็นของแสลงของเด็กในยุค "รักวัวให้ผูก รักลูกให้กอด" แต่สำหรับ เล้ง-ราชนิกร แล้ว นี่คือยาชูกำลังใจอย่างดี ที่ทำให้เขาต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อ จนแม้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุการซ้อมจนต้องพักรักษาตัวอยู่นานหลายเดือน แต่ในที่สุดเขาก็กลับมาเดินตามรอยความฝัน

c

"งานนี้ เป็นงานที่ผมภูมิใจเสนอ และผมคิดว่า คนไทยน่าจะภูมิใจกับงานชิ้นนี้ที่จะเอาไปโชว์ต่อสายตาชาวโลก ด้วยความที่เป็นงานที่ เอาวรรณคดีไทยอย่าง พระลอ นำมาสร้างใหม่ให้ดูสมจริงมากยิ่งขึ้น

โชว์นี้รวมทั้งความงามของ ภาษา ที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้ บวกกับความงามที่คนปัจจุบันมองเห็น เทคนิคปัจจุบันสามารถทำได้ อย่างการเล่นผ้า มันรวมทุกอย่างอยู่บนสเตจ ผมว่ามันมีเสน่ห์"

เขาแอบกระซิบแบบติดตลกมาว่า วัยเด็ก เขาชอบปีนป่ายมานานแล้ว และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการแสดง ที่ต้องไต่ผ้าขึ้นไปจุดสูงสุดในวันนี้

"ตอน เด็กชอบปีนมาก พ่อจะตีรั้วบ้านเป็นรั้วไม้ไผ่ แล้วจะชอบขึ้นไปปีนเล่นกัน แล้วพ่อก็จะวิ่งไล่ตี สุดท้าย พ่อห้ามไม่ไหว พ่อก็เลยผูกไม้ให้แขวนใต้ต้นมะม่วง นั่นล่ะครับ ที่จุดประกายให้ผมแข็งแรงได้"

ในวันนี้ เล้ง-ราชนิกูล กลายเป็นเศรษฐีย่อมๆ คนใหม่ เพราะรางวัลจากรายการนี้ รวมๆ แล้ว 10 ล้านบาทเลยทีเดียว คำถามที่หลายคนอยากถาม คงไม่ต่างจากการถามนักกีฬาเหรียญรางวัลโอลิมปิกที่ได้เงินอัดฉีด

l

จะเอาเงินรางวัลไปทำอะไรบ้าง?

"ผม ยังไม่มีแพลนเอาเงินรางวัลไปใช้จริงจัง แต่ว่าอันดับแรกที่จะทำคือ ไปใช้หนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ก่อนครับ คุณพ่อคุณแม่เป็นเกษตรกร เคยลงทุนทำฟาร์มวัวนม แล้วขาดทุนไปเยอะมาก จนต้องขายบ้านขายรถ แล้วก็เอามาใช้หนี้

แล้วก็อยากเก็บไว้เรียนต่อ เพราะอยากจะเป็นคุณครูอยากจะเปิดโรงเรียนสอนกายกรรมประเภทนี้ในประเทศไทย และลงมือสอนลูกศิษย์ที่สนใจด้วยตัวผมเอง"

ปลายทางสำเร็จที่เราเห็นในโชว์ไม่กี่นาทีของหนุ่มนักกายกรรมปีนผ้า อาจจะทำให้เรารู้สึกอิจฉากับรางวัลใหญ่ที่เขาได้จากรายการนี้

แต่ หากมีเวลาเฝ้าสังเกตระหว่างทางที่เขาเดินมา ตั้งแต่อยู่จุดล่างสุดของผืนผ้า จนถึงวันที่เขาปีนไปถึงจุดสุดยอดตรงนั้น ที่ผ้าแขวนไว้...

นี่คือ ความสำเร็จที่ "แลกมาด้วยชีวิต" ที่เราต้องยอมรับ ในสิ่งที่เล้ง-ราชนิกร ทำให้เห็น ใช่ไหมครับ?

 

 

ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณณัฐกร เวียงอินทร์

 

เรียบเรียงจาก : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=vinitsiri&month=03-09-2012&group=214&gblog=40

 

 

Go to top