s  ดูกันให้ชินก่อนดวงอาทิตย์ตื่นตัวถี่สูงสุดในปี 2013 ล่าสุดนาซาเผยทั้งคลิปและภาพนิ่งขณะชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ปะทุเป็นสายออกมา ยืดยาวในอวกาศ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเกิดพายุสุริยะรุนแรงเมื่อ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุจากกิจกรรมสนามแม่เหล็กบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 
หอดูดาวอวกาศโซลาร์ไดนามิกส์ (Solar Dynamics Observatory) หรือยานอวกาศเอสดีโอ (SDO) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) รวมถึงหอดูดาวสังเกตดวงอาทิตย์อื่นๆ ได้จับภาพปรากฏการณ์ใยสุริยะ (solar filament) และการปะทุของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ซึ่งพ่นมวลชั้นโคโรนา (coronal mass ejection) หรือซีเอ็มอี (CME) สู่อวกาศเมื่อวันที่ 31 ส.ค.2012 ที่ผ่านมา
s
มวลชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้ พุ่งสู่อวกาศด้วยความเร็วมากกว่า 1,450 กิโลเมตรต่อวินาที โดยมวลเหล่านั้นคืออนุภาคมีประจุที่เมื่อปะทะโลกแล้ว จะรบกวนการทำงานของดาวเทียมและการสื่อสารวิทยุ รวมถึงทำลายระบบส่งกระแสไฟฟ้าได้ แต่นอกจากด้านร้ายๆ แล้ว ผลกระทบจากอนุภาคเหล่านั้นยังทำให้เกิดออโรรา (aurora) หรือแสงเหนือ (Northern Light) แสงใต้ (Southern Light) ที่สวยงามเมื่อปะทะสนามแม่เหล็กโลก

อย่างไรก็ดี ยังนับว่าเป็นโชคดีสำหรับโลก เพราะจากข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์นาซาแถลงสเปซด็อทคอมระบุว่า อนุภาคซีเอ็มอีไม่ได้พุ่งมายังโลกโดยตรง แต่ก็มีการเชื่อมกับสภาพแม่เหล็กของโลกหรือแมกเนโตสเฟียร์ (magnetosphere) ด้วยการแฉลบไป และเป็นสาเหตุให้เกิดแสงออโรราในคืนวันที่ 3 ก.ย. ตามเวลาซีกโลกตะวันตก

ซี อเล็กซ์ ยัง (C. Alex Young) นักฟิสิกส์สุริยะจากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ของนาซากล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะระบุขนาดของปรากฏการณ์ 3 มิติ จากภาพ 2 มิติในมุมที่เห็นนี้ แต่คาดว่าใยสุริยะน่าจะมีขนาดมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก 30 เท่า และเมื่อใยสุริยะพุ่งสู่อวกาศแล้วก็จะขยายตัวอย่างรวดเร็วได้เป็นระยะทาง หลายล้านกิโลเมตร

สำหรับภาพใยสุริยะนี้หอดูดาวเอสดีโอ ได้บันทึกไว้ด้วยความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน 4 ความยาวคลื่น สัมพันธ์กับอุณหภูมิของวัตถุสุริยะที่แตกต่างกัน และจากเปรียบเทียบภาพเหล่านี้สเปซด็อทคอมระบุว่านักวิทยาศาสตร์คาดหวังที่จะ ปรับปรุงแผนที่การเคลื่อนไหวของพลาสมาบนดวงอาทิตย์ระหว่างการปะทุให้ดีขึ้น

สเปซ ด็อทคอมระบุอีกว่า ใยสุริยะยังเป็นที่รู้จักว่าเป็นเปลวสุริยะ (prominence) ซึ่งเราเรียกว่าใยสุริยะเมื่อเห็นลักษณะการพ่นมวลที่ขวางกับพื้นผิวดวง อาทิตย์ โดยใยสุริยะเหล่านั้นจะยึดติดกับบรรยากาศชั้นล่างของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า โฟโตสเฟียร์ (photosphere) และจะขยายออกสู่บรรยากาศชั้นนอกที่เรียกว่าโคโรนา (corona)
s
ตาม รอบวัฏจักรสุริยะ (solar cycle) ทุกๆ 11 ปีนั้น ในปี 2013 ดวงอาทิตย์จะเกิดกิจกรรมและการปะทุถี่มากที่สุดจากนั้นจะค่อยลดจำนวนและสงบ ลงอย่างเช่นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และกิจกรรมบนดวงอาทิตย์นี้ยังสอดคล้องกับจำนวน "จุดมืด" (sunspot) ซึ่งช่วงนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นด้วย

 

        {youtube}GrnGi-q6iWc{/youtube}

 

 

ขอบคุณ
ผู้จัดการออนไลน์
นาซา/สเปซด็อทคอม

ข้อมูลที่มาจาก:

 http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=vinitsiri&month=12-09-2012&group=217&gblog=146

 

Go to top