ิb  ใครได้ยินคำว่า ติด “เครดิตบูโร” ถึงกับหนาว แทบจะหมดสิ้นเครดิต กู้สินเชื่อใครไม่ได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะจากฝ่ายสินเชื่อของธนาคารรวมถึงธุรกิจ ธุรกรรมอื่นๆ ก็ไม่อาจทำได้

   จริงๆ แล้ว เครดิตบูโรทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกลางในการรับและจัดเก็บข้อมูลเครดิตให้กับ สถาบันการเงินสมาชิกที่เป็นสถาบันการเงินที่ต้องการใช้ข้อมูลเครดิตจะต้อง สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกของเครดิตบูโร และต้องนำส่งข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าที่มีอยู่ของตนเองให้กับเครดิตบูโรทุก เดือน

b

“ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจ ผิดว่าถ้าค้างชำระหนี้เกิน 3 ปี แล้วข้อมูลเครดิตจะถูกลบ หรือถ้าแบงก์ไม่ติดตามทวงถามหนี้เกินอายุความแล้ว ข้อมูลเครดิตจะถูกลบ หรือออกจากระบวนการล้มละลายแล้วข้อมูลเครดิตจะถูกลบความเข้าใจทั้งหมด ที่กล่าวมานั้นไม่เป็นความจริง ข้อมูลเครดิตจะยังคงอยู่หากยังมีหนี้ค้างชำระอยู่ ซึ่งจะปรากฏตามข้อเท็จจริง มีความถูกต้อง แต่บางครั้งจะไม่ถูกใจ” เช่น นาย ก มีการค้างชำระบัตรเครดิต 20,000 บาทในเดือนสิงหาคม 2554 ต่อมาชำระในเดือนธันวาคม 2554 รายงานก็จะระบุว่า เดือนสิงหาคมมียอดค้างชำระ 20,000 บาท

ข้อมูลในเดือนธันวาคม ก็จะมียอดค้างเท่ากับ 0 และปรากฏข้อมูลว่าไม่มีการค้างชำระ สถานะบัญชีปกติ “ข้อมูลเครดิตจะมีการส่งเข้ามาทุกเดือน เช่น เริ่มมีบัญชีสินเชื่อบัตรเครดิตเดือนที่ 1 พอครบสิบเดือนก็จะมีการส่งข้อมูลเข้ามาตามข้อเท็จจริง พอเดือนที่ 2 ก็ส่งเข้ามาเรื่อยๆ จนครบ 36 เดือน หรือข้อมูลมี 36 บรรทัด ข้อมูลเดือนที่ 1 จะไม่ไปทับข้อมูลเดือนที่ 2 นะครับ แต่เมื่อมีข้อมูลเดือนที่ 37 เข้ามาใหม่ ข้อมูลเดือนที่ 1 ซึ่งอยู่กับเครดิตบูโรมาแล้ว 36 เดือนหรือ 3 ปี ก็จะถูกลบออกไป

b

  ตามตัวอย่างหาก เดือนที่ 1 ไม่จ่ายแล้วลากยาวมาถึงเดือนที่ 36 และเดือนที่ 37 ก็ยังไม่จ่ายหนี้ ข้อมูลตังแต่เดือนที่ 2 จนถึงเดือนที่ 37 ก็จะแสดงว่าค้างชำระคิดเป็น 36 บรรทัด ขณะที่เดือนที่ 1 ก็จะถูกลบออกไป นี่คือสิ่งที่เข้าใจกันผิดมากที่สุด”

“การ ไม่ต้องการให้ใคร สถาบันการเงินไหนเห็นประวัติที่เราอาจไม่ชอบ แล้วขอให้เครดิตบูโรย้อนไปลบข้อมูลในเดือนนั้นๆ ไม่สามารถทำได้ เพราะประวัติของคนเรา ของบริษัทจะขาดหายไปไม่ได้ เช่นเดียวกันกับสมุดพกการเรียน การศึกษา สอบได้อย่างไร คะแนนอย่างไร ในเทอมไหนก็จะรายงานออกมาอย่างนั้น”

นาย สุรพล โอภาสเถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตรแห่งชาติ จำกัด ยืนยันว่า เครดิตบูโรไม่มีและไม่เคยมี Blacklist “ที่พูดๆ กันนั้น ผมเคยถามว่า คำนิยามของ Blacklist คืออะไร บางทีคนพูดยังบอกไม่ได้ ซํ้าร้ายยังไม่เคยเห็นรายงานข้อมูลเครดิตหรือรายงานเครดิตบูโรด้วย เป็นการพูดตามๆ กันมา ซึ่งปัญหานี้เครดิตบูโรทั่วโลกล้วนถูกท้าทาย ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน เป็นภารกิจของทุกคนในองค์กรและทุกภาคส่วนของระบบสถาบันการเงินที่ต้องช่วย กันสื่อสาร”

b

 คนไทยยุคใหม่ต้องมีวินัยทางการเงิน ใช้ครบ ใช้ตรง ตามเงื่อนไข “เป็นหนี้ต้องใช้หนี้ สัญญาต้องเป็นสัญญา”

ข้อมูล ที่สถาบันการเงินส่งมาให้กับเครดิตบูโรนั้น จะเป็นข้อมูลสินเชื่อลูกค้าของสถาบันการเงินนั้นๆ ที่ได้รับการเข้ารหัสข้อมูลขั้นสูง ขณะเดียวกันสถาบันการเงินก็ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า ได้นำส่งข้อมูลเครดิตให้กับเครดิตบูโรภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้นำส่งข้อมูลครั้งแรก ภาษาชาวบ้านคือ หลังเปิดบัญชีสินเชื่อ หลังการเปิดบัตรเครดิตวันใด หลังจากนั้นไม่เกิน 30 วันต้องมีหนังสือถึงคนคนนั้น ว่าเนื่องจากสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นสมาชิกเครดิตบูโรจึงต้องส่งข้อมูลของ คนที่ได้รับอนุมัติและเปิดบัญชีสินเชื่อนั้นๆ ให้กับเครดิตบูโรตามที่กฎหมายกำหนด ข้อมูลเครดิตที่ถูกส่งมาก็จะถูกเก็บรักษาเป็นความลับไว้เป็นอย่างดี กระทั่งมีหนังสือให้ความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และสถาบันการเงินสมาชิกขอเรียกดูข้อมูลเครดิตของคนที่ยืนยันขอสินเชื่อราย นั้น เครดิตบูโรจึงจะเปิดเผยข้อมูลเครดิตของผู้ขอสินเชื่อรายนั้นให้สถาบันการ เงินดูได้ หากใครดำเนินการต่างไปจากนี้มีโทษในทางอาญา อาจถึงขั้นติดคุกติดตะราง ไม่รวมถึงการที่จะถูกปรับเป็นเงินจำนวนมาก เป็นต้น

b

   ข้อมูลที่จัดเก็บได้แก่ บัญชีสินเชื่อ บัญชีบัตรเครดิต บัญชีสินเชื่อบ้าน บัญชีสินเชื่อรถยนต์ และบัญชีสินเชื่อบุคคล โดยในรายละเอียดของแต่ละบัญชีนั้นจะมีข้อมูล ประเภทบัญชี ประวัติการชำระเงิน ยอดเงินคงค้าง และประวัติการผิดนัดชำระ (ถ้ามี) โดยกำหนดระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลเครดิต

  ย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี หรือ 5 ปี แล้วแต่ประเภทของสินเชื่อ กล่าวคือถ้าเป็นสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิตจะเก็บไม่เกิน 3 ปี หรือ 36 เดือนย้อนหลัง ซึ่งระยะเวลาการจัดเก็บดังกล่าวเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและในระบบสากลระยะ เวลามาตรฐานขั้นต่ำก็กำหนดให้เก็บไม่เกิน 3 ปีใครได้ยินคำว่า ติด “เครดิตบูโร” ถึงกับหนาว แทบจะหมดสิ้นเครดิต กู้สินเชื่อใครไม่ได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะจากฝ่ายสินเชื่อของธนาคารรวมถึงธุรกิจ ธุรกรรมอื่นๆ ก็ไม่อาจทำได้

 

ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog

 

 

Go to top