มีคนถามว่ากฏหมายไทยเป็นอุปสรรคในการสร้างอาวุธไทยจริงหรือเปล่า ขอตอบว่าโครตจริงครับ
{youtube width="500"}neBLtw0EtYE{/youtube}
กฏหมาย ไทยเป็นอุปสรรค เพราะรัฐบาลและกองทัพมองว่าเอกชนที่ผลิตอาวุธได้คือผู้ที่ไม่หวังดีต่อ ประเทศชาติครับ เมื่อมีไอเดียนี้ตั้งต้น จะทำอะไรก็ลำบาก
แต่ต่างประเทศเขาจะมองว่า เอกชนที่ผลิตอาวุธได้เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงและระบบเศรษฐกิจของประเทศ เขาก็ออกกฏหมายออกมาในอีกลักษณะหนึ่ง
ของอย่างนี้มันอยู่ที่มโนทัศน์ ทหารในกองทัพไทยหลายคนชอบคิดว่า ซื้ออาวุธของไทย หรือจ้างคนไทยซ่อมบำรุง คือการปล่อยให้คนเหล่านั้นมาหากินกับกระทรวงกลาโหม แต่พอฝรั่งเข้ามา เออ ออ ห่อหมกหมด บอกว่าดีอย่างโน้นดีอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่ฝรั่งพวกนี้ก็มาหากินกับกระทรวงกลาโหมเหมือนกัน ความจริงแนวคิดนี้มันไม่ควรจะเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มีคนพวกนี้มาหากินกับกระทรวงกลาโหม พวกคุณก็ไม่มีอะไรจะกิน เพราะอาวุธก็ใช้ไม่ได้เพราะไม่มีการซ่อมบำรุง หรือจะซื้อของใหม่ก็ซื้อไม่ได้เพราะไม่มีใครขายให้
หรือว่าผมตีความคำว่ากินผิดจากความเข้าใจของทหารบางกลุ่มพวกนั้นก็ไม่รู้
แต่ถ้าจะกลัวโดยบริสุทธิ์ใจเรื่องเอกชนเลว ๆ ที่จะมาคดโกงกับกองทัพ อันนี้โอเคครับ และไม่แปลกเลยด้วย เพราะเอกชนเลว ๆ ฝรั่งก็มีครับ แต่ปัญหาก็คือ ฝรั่งมีทั้งเอกชนเลว ๆ และเอกชนดี ๆ และเขาพยายามส่งเสริมเอกชนดี ๆ ส่วน ไทย ปิดกั้นเอกชนดี ๆ แต่ไม่ปิดกั้นเอกชนเลว ๆ ยกตัวอย่างเช่น จะซื้ออาวุธฝรั่ง กฏหมายกำหนดว่า ต้องให้มีตัวแทนในไทยเพื่อมีอะไรจะได้ฟ้องร้องได้ ซึ่งอันนี้ถูกต้องครับ ไม่งั้นเสียหายไปใครจะมารับผิดชอบ แต่กลับกันมันคือการสร้างช่องทางให้มีธุรกิจนายหน้าค้าอาวุธเกิดขึ้น (อย่างมั่นคงเสียด้วย)
แต่นั้นมันคือครึ่งนึง อีกครึ่งหนึ่ง รัฐและกองทัพแทบไม่เปิดโอกาสให้เอกชนดี ๆ ได้ทำการวิจัย และถึงวิจัยสินค้าออกมาก็ไม่ซื้อ และไม่สนับสนุนให้เกิดการวิจัยด้วย บอกว่าไม่ได้มาตราฐานทางทหารบ้าง แต่พอจะไปขอการรับรองมาตราฐานทางทหารก็ไม่ทำให้ หรือตั้งเกณฑ์เสียยิ่งกว่าอาวุธฝรั่ง พอ เอกชนไทยจะนำเข้าอุปกรณ์วิจัยก็บอกว่าเป็นยุทธภัณฑ์เอาเข้ามาไม่ได้ แต่กลับกัน พอซื้ออาวุธฝรั่ง เอาเข้าได้หมดเพราะแค่ขอนุญาตตัวเองก็ซื้อได้แล้ว หรืออย่าง VAT ที่เอกชนไทยที่วิจัยต้องเสีย VAT ของวัตถุดิบในการผลิตและวิจัย ไปขอ BOI ก็ไม่ยอมให้ บอกว่าประเทศนี้ไม่มีหรอกคนไทยที่จะทำอาวุธได้ แต่พอซื้ออาวุธฝรั่ง กองทัพกลับเสนอครม.ให้ยกเว้น VAT ให้ เทียบกับที่ไม่เคยยอมไปเสนอครม.ให้ออก BOI ส่งเสริมเอกชนไทย อะไรประมาณนี้ครับ
นั่น ก็กลับมาประเด็นที่ว่า สุดท้ายความจริงใจที่จะพัฒนาความมั่นคงของประเทศของกองทัพมันมีอยู่จริงหรือ เปล่า ถ้ามี มีเท่ากับความจริงใจที่จะพัฒนาความมั่นคงของตนเองสำหรับคนบางกลุ่มหรือไม่
จะให้เอกชนไทยจ่ายใต้โต๊ะ พานายพลลงอ่างได้เท่ากับฝรั่งมันคงยาก กำลังเงินจะไปสู้เขาก็คงไม่ได้ ซึ่งต่างประเทศเขาเห็นจุดนี้ เขาถึงพยายามออกกฏให้เลือกปฏิบัติให้เอกชนในประเทศก่อนเขา ส่วนบ้านเรา คิดจะทำแบบนี้ทีไร โดนเตะสกัดทุกทีครับ เรื่องนี้คือเรื่องนโยบายแท้ ๆ เลย
พูดเรื่องน่าส่ายหัวมาแล้วมาดูเรื่องน่าศึกษาดีกว่า ผมขอยกตัวอย่างสี่ตัวอย่างสำหรับสามเหล่าทัพ คือโครงการพัฒนาเครื่องช่วยฝึกยิงเลเซอร์ของกองทัพบก โครงการต่อเรือในประเทศของกองทัพเรือสองโครงการคือโครงการต่อเรือสนับสนุน การปฏิบัติการทางเรือและเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง และโครงการซื้อเครื่องบิน Gripen ของกองทัพอากาศ
ถ้าให้เรียง ลำดับการพึ่งพาตนเองแท้ ๆ แบบเปิดโอกาสให้อกชนไทยเต็มที่ ต้องให้โครงการเครื่องช่วยฝึกยิงเลเซอร์ของกองทัพบก และโครงการต่อเรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือมาเป็นที่หนึ่ง เนื่องจากกองทัพบกและกองทัพเรือเปิดโอกาสให้เอกชนไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การพัฒนาอย่างเต็มที่ หลังจากพัฒนาระบบแล้ว ยังเปิดโอกาสให้เอกชนไทยดูแล ซ่อมบำรุง และปรับปรุงต่อ อย่างน้อยก็โดยหลักการที่แถลงก็ว่าอย่างนั้น ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วจะทำได้แบบนั้นหรือไม่คงต้องรอดู แต่โดยหลักการมันมาดีแล้วครับ
ส่วน ถ้าจะวัดโครงการซื้อของ คืออาวุธนี้เราทำเองไม่ได้ต้องซื้อเขา แต่ซื้ออย่างฉลาด โครงการต่อเรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งดูดีที่สุดครับ เพราะเราประเมินความสามารถตัวเองแล้วว่า แบบเรือเรายังไม่ชำนาญคงต้องซื้อแบบเขา แต่อู่ในประเทศพอต่อได้ จึงให้อู่ต่างประเทศจับคู่กับอู่ในประเทศเพื่อต่อเรือ อันนี้ดูดีทีเดียว ส่วน Gripen ก็ดูดีเช่นกันครับ เราก็ประเมินตัวเองว่า แบบอากาศยานเราคงออกแบบเองไม่ได้ และผลิตในประเทศก็คงไม่ได้ ก็ใช้วิธีซื้อเอา และให้เขาถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ ซึ่งมันก็ดูดีครับ เพียงแต่ผมรู้สึกว่า กองทัพอากาศยังจัดการเทคโนโลยีได้ไม่ดีพอ คือไม่ยอมปล่อยเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน หรือปล่อยก็น้อยมาก สุดท้ายเทคโนโลยีพวกนี้มันก็จะตายอยู่ในกองทัพ ไม่เกิดประโยชน์มากเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่ง แตกต่างจากกรณีของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ที่กองทัพเรือก็ได้เทคโนโลยี อู่เอกชนก็ได้เทคโนโลยีด้วย ได้ License ไปต่อขายส่งออกด้วยอีก 10 ปี และไปโฆษณาได้ด้วยว่า เคยต่อให้กองทัพเรือไทยมาแล้ว ถ้าขายได้ก็ถือว่าเอาเงินเข้าประเทศ ตอนต่ออู่ก็ได้รายได้ มีการจ้างงาน แบบนี้ยอดเยี่ยมครับ
คิอหวังว่าโครงการพวกนี้จะเป็นตัวจุดประกายให้เกิดอะไรดี ๆ ขึ้นในประเทศไทยครับ อะไรที่มีสะดุดบ้าง ก็ขอให้ปรับแก้กันไป อย่ากลับไปซื้ออย่างเดียวเหมือนในอดีต อย่างวันนั้นได้ยินท่านผบ.ทบ.พูดว่า ต่อไปนี้กองทัพบกจะซื้ออะไร กองทัพบกต้องได้เทคโนโลยีกลับมาด้วย อันนี้ถูกต้องเลยครับ ถ้าผู้บังคับบัญชาสนับสนุน การจะผลักดันอะไรดี ๆ ก็ง่ายขึ้นครับ
ยังไงเอาใจช่วยทั้งทหารและเอกชนไทยที่คิดดี ทำดี และหวังดีต่อประเทศไทยครับ
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=skyman&group=2