ck   หลายท่านคงเคยได้ยิน หรือเคยอ่าน"ถกเขมร" เขียนโดยท่านอาจารย์คึกฤทธ์ ปราโมช มาแล้ว หนังสือเล่มดังกล่าวได้จัดพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง ด้วยสำนวนของท่านผู้แต่ง ที่เรียกว่า อ่านแล้ววางไม่ลง

  แต่ถ้าพูด ถึงชื่อหนังสือ "นายรำคาญ เที่ยวเขมรกับคึกฤทธิ์" อาจไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตานัก หนังสือเล่มนี้แต่งโดยนายรำคาญ หนึ่งในคณะที่ไปเที่ยวเขมรพร้อมกับท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ในสมัยนั้น

สำนักพิมพ์ประเสริฐวาทิน เป็นผู้พิมพ์จำหน่าย ราคาเล่มละ ๖ บาท พ.ศ.๒๕๑๓ ข้อความที่ท่านเขียนตอนต้นของหนังสือไว้ว่า

...เมื่อ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๙๖ ข้าพเจ้าเป็นแต่เพียง หนึ่งในสามของ คุณครูอบ ไชวสุ คุณประยูร จรรยาวงษ์ และข้าพเจ้าที่ได้ร่วมเดินทางไปเขมรกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช...

 

 

alt



alt

 

ครูอบ นายรำคาญ และท่านอาจารย์คึกฤทธิ์
alt

 

ครูอบ ไชยวสุ

alt

คุณประยูร จรรยาวงษ์ (คนกลาง)

alt

alt

alt

alt

alt

alt



"นาย รำคาญ" เป็นนามปากกาของ ประหยัด ศ. นาคะนาท เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ท่านเป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ประหยัด ศ. นาคะนาท เดิมชื่อ "ประหยัดศรี" เปลี่ยนชื่อตัวเป็น "ประหยัด ศ." ในยุครัฐนิยมสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่บังคับให้เปลี่ยนชื่อที่ไม่ตรงตามเพศ ห้ามผู้ชายใช้ชื่อที่มีคำว่า "ศรี"

ท่านเข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒

เริ่ม เขียนหนังสือในหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ใช้นามปากกาว่า “นายรำคาญ” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เริ่มเขียนในประชาชาติรายสัปดาห์ คอลัมน์ “ตามใจท่าน” แทนครูอบ ไชยวสุ

ประหยัด ศ. นาคะนาท มีงานเขียนหลากหลาย ทั้งบทความการเมือง ขำขัน หัสนิยาย สารคดี เคยเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ บางกอกรายปักษ์ บางกอกรายวัน สยามสมัย พิมพ์ไทยวันจันทร์ สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และ สยามิศร์ รายวันและรายสัปดาห์

ผลงานการเขียนหนังสือของท่าน ได้แก่

๑. เที่ยวไปกับนายรำคาญ
๒. เที่ยวเขมรกับคึกฤทธิ์
๓. ละคอนลิงแห่งชีวิต
๔. ลิเกแห่งชีวิต
๕. เรื่องอย่างว่า
๖. เรื่องนี้นางเอกมีหนวด
๗. พระเอกเป็นนักสืบตำรวจเป็นผู้ร้าย
๘. ผีโป่งที่ป่าร่อน

ประหยัด ศ. นาคะนาท เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ อายุ ๘๗ ปี

 

ที่มา:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=klongrongmoo&month=25-10-2012&group=17&gblog=19

 

 

 

 

 

Go to top